Pharmacy Division

Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital

  • Full Screen
  • Wide Screen
  • Narrow Screen
  • increase font size
  • Default font size
  • decrease font size

ภัยร้ายจากยาสเตียรอยด์

E-mail Print PDF

การใช้ยาในทางที่ผิดหรือการใช้ยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้ใช้ยาในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งครอบคลุมทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาแผนโบราณ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยาฉีด ยาเม็ด ยาทาภายนอก ยาตา ยาผง เป็นต้น

สเตียรอยด์คืออะไร

 

  • สเตียรอยด์ เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex steroids)
  • สเตียรอยด์สำหรับใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค
  • กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

ประโยชน์ของสเตียรอยด์

  • ใช้เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมน : โดยปกติจะใช้สเตียรอยด์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และจากความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
  • ใช้รักษาโรค : สเตียรอยด์จะถูกใช้เมื่อใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือโรคนั้นไม่อาจควบคุมด้วยยาอื่น เนื่องจากมีอาการข้างเคียงสูง วัตถุประสงค์ที่นำสเตียรอยด์ไปใช้ก็เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และกดภูมิคุ้มกันในโรคต่าง ๆ นั้น เช่น โรคภูมิแพ้, โรคผิวหนัง, โรคตา และโรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ เป็นต้น

อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์
เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย แทบทุกระบบ การใช้สเตียรอยด์อาจนำไปสู่อันตรายมากมายหลายประการ ได้แก่

การติดเชื้อ

การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว
กดการหลั่งฮอร์โมนภายในร่างกาย
การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยาและระยะเวลาในการใช้ยา ทำให้เมื่อหยุดใช้ยานี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

แผลในกระเพาะอาหาร
สเตียรอยด์มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน

ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
สเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น

กระดูกผุ (Osteoporosis)
การใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้กระดูกผุได้ ดังนั้น ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกระดูกผุอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ, หญิงวัยทอง และคนที่มีประวัติโรคไขกระดูก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย
เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็ก จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานในขนาดสูง

ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
ผลของสเตียรอยด์ ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือโปแตสเซียมทางปัสสาวะมาก ซึ่งป้องกันได้โดยให้ลดการกินโซเดียม และกินอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงแทน เช่น ส้ม กล้วย ผู้ที่มีระดับโปแตสเซียมต่ำมาก อาจมีผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ
ผลต่อตา
ยาหยอดตาบางชนิด มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไปนาน ๆ อาจทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจทำให้ตาบอดได้
ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ
สเตียรอยด์มีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushing’s Syndrome ลักษณะที่พบในผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น

ข้อพึงปฏิบัติในการใช้สเตียรอยด์
ผู้บริโภคควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ และซื้อยาจากร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรแนะนำการใช้ยา หลีกเลี่ยงการซื้อยาลูกกลอนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาชุดที่จัดเตรียมไว้แล้ว เนื่องจากอาจมีการนำสเตียรอยด์ไปผสมกับยาลูกกลอน หรือมีการใช้ยาสเตียรอยด์ในยาชุด โดยเฉพาะยาชุดแก้ปวดเมื่อย ยาชุดแก้หวัด เป็นต้น

บรรณานุกรม
1. กำพล ศรีวัฒนกุล. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์ . พิมพ์ครั้งที่ 3 .บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด,2541.
2. ศักดิ์ บวร. คู่มือใช้ยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. 94-98.เจริญวิทย์การพิมพ์, 2541.
3. สุธี เวคะวากยานนท์. รู้ไว้-ใช้ยา. พิมพ์ครั้งที่ 1.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2541.
4. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. แนะยา แจงโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2.สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน , 2541.
5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กลุ่มนิติการ.รวมกฎหมายอาหารและยา. พิมพ์ครั้งที่ 2 .โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด, 2537.
6. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา. เอกสารเผยแพร่ เรื่อง การใช้ยาตา (โรเนียว).2545.
7. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา,เอกสารเผยแพร่ เรื่อง ยาแผนโบราณ (โรเนียว).2544.

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย นศ.ภ. ทัชชัย เรือนแปง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

Однако мое негодование угасло почти "Диабет" так же быстро, как и вспыхнуло.

Комната слегка заколыхалась, когда я просканировал ее на тех длинах волн, где существовала наибольшая вероятность заметить искомые проявления по крайней мере, это самый лучший способ описать такой процесс в этом отражении.

Острие меча, словно ниоткуда материализовавшееся у его горла, заставило старика остановиться на полуслове.

И "Английский язык для делового общения" я знаю также, что вы верите многому из того, что я сказала с некоторыми оговорками.

Однако под видимостью случайного стечения обстоятельств мог скрываться чей-то хитроумный план.

А вот об этих Вешалках я знаю настолько мало, что даже не берусь предполагать, как они себя поведут.

Нужно подчиняться требованиям закона.

Теперь уже ничего не разглядишь в двадцати "Website x5 keygen" шагах.

Если я не ошибаюсь, вы и сейчас на ней.

You are here: