Font Size

Cpanel

ประวัติองค์กรแพทย์

องค์กรแพทย์สวนดอก ได้ถูกจัดตั้งและประกาศใช้ธรรมนูญองค์กรแพทย์ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบด้วยข้อบังคับ ๑๐ หมวด นับจนปัจจุบันเป็นเวลา 8 ปี มีคณะกรรมการดำเนินงานมา โดยชุดปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งตามหนังสือที่ 639 / 2553 ให้ดำเนินงานในวาระ ปี พ.ศ. 2553 – 2555 เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2553 ธรรมนูญองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมวดที่หนึ่ง: บททั่วไป ข้อหนึ่ง องค์กรแพทย์ หมายถึง องค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มแพทย์ในการดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายและพันธกิจที่กำหนด ธรรมนูญองค์กรแพทย์ หมายถึง กฎหรือระเบียบซึ่งใช้เป็นข้อบังคับในการดำเนิน กิจการขององค์กรแพทย์ ธรรมนูญองค์กรแพทย์มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่คณบดีลงนามประกาศ คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการองค์กรแพทย์ กรรมการ หมายถึง กรรมการองค์กรแพทย์ คณบดี หมายถึง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สมาชิก หมายถึง สมาชิกสามัญและวิสามัญองค์กรแพทย์ แพทย์ ประธาน หมายถึง หมายถึง อาจารย์แพทย์ แพทย์และทันตแพทย์ ประธานองค์กรแพทย์ หมวดที่สอง เป้าหมายและพันธกิจขององค์กรแพทย์ ข้อสอง เป้าหมายขององค์กรแพทย์ 1. รักษามาตรฐานทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ 2. เสริมสร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในกลุ่มแพทย์ รวมทั้งผู้ร่วมงานทุกระดับ 3. เป็นตัวแทนของแพทย์ในการประสานงานกับองค์กร หรือหน่วยงานอื่น ข้อสาม พันธกิจขององค์กรแพทย์ 1. รักษาไว้ซึ่งมาตรฐานวิชาชีพแพทย์โดยการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่อไปนี้ 1.1 ดูแลให้แพทย์ประกอบเวชปฏิบัติตรงตามความชำนาญ และมาตรฐานสาขาวิชาชีพ(Credentialing) 1.2 สนับสนุนให้มีการดูแลรักษาผู้ป่วยตาม Clinical Practice Guideline/Care Map 1.3 สนับสนุนให้มีการบันทึกเวชระเบียนที่ได้มาตรฐาน 1.4 สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก 1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยของสมาชิก 2. รักษาไว้ซึ่งจริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์ 3. ประสานกิจกรรมคร่อมสายงานใน Patient Care Team ให้มีประสิทธิภาพ 4. บริหารความเสี่ยงทางการแพทย์ (Medical Risk Management) 5. ประสานงานกับผุ้บริหารเพื่อจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับสมาชิก หมวดที่สาม สมาชิกองค์กรแพทย์ ข้อสี่ สมาชิกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำในโรงพยาบาลทุกท่านถือเป็นสมาชิกสามัญขององค์กรแพทย์ ส่วนแพทย์ฝึกหัด แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน แพทย์สาขาต่อยอด และแพทย์ที่เป็นอาจารย์พิเศษถือเป็นสมาชิกวิสามัญ ข้อห้า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ 1. ตาย 2. ย้ายหรือลาออกจากการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล 3. อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม/ทันตกรรม ข้อหก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก 1. สมาชิกสามัญ 1.1 มีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้ง และลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการองค์กรแพทย์ 1.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นต่อกิจการที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ หรือองค์กรแพทย์ 1.3 มีสิทธิเสนอเรื่องเข้าพิจารณาในวาระการประชุมคณะกรรมการองค์กรแพทย์ โดยให้เสนอผ่านหัวหน้าภาควิชาหรือเลขานุการองค์กรแพทย์ ก่อนการประชุมอย่างน้อยห้าวันทำการ 1.4 มีสิทธิขอเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการลงมติ 1.5 สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าสามสิบคนมีสิทธิร่วมลงชื่อเสนอให้คณะกรรมการ พิจารณาทบทวนมติต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นปัญหาในการปฏิบัติหรือไม่ชอบธรรม 1.6 สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามมีสิทธิร่วมลงชื่อเสนอให้คณบดีถอดถอนกรรมการที่เห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม 1.7 สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสิทธิร่วมลงชื่อถอดถอนกรรมการที่เห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม 1.8 พึงได้รับทราบข่าวสาร และมีสิทธิขอข้อมูลจากองค์กรแพทย์ 1.9 มีหน้าที่เข้าร่วมประชุม และแสดงความคิดเห็นในการประชุมสมาชิกองค์กรแพทย์ 1.10 ปฏิบัติตามธรรมนูญฯ และมติองค์กรแพทย์ 2. สมาชิกวิสามัญ 2.1 มีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งถ้าอยู่ในสถานะที่จะปฏิบัติงานจนครบวาระของกรรมการองค์กรแพทย์ 2.2 มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการองค์กรแพทย์จากกลุ่มสมาชิกวิสามัญเท่านั้น 2.3 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นต่อกิจการที่เกี่ยวของกับแพทย์หรือองค์กรแพทย์ 2.4 พึงได้รับทราบข่าวสาร และมีสิทธิขอข้อมูลจากองค์กรแพทย์ 2.5 มีหน้าที่เข้าร่วมประชุม และแสดงความคิดเห็นในการประชุมสมาชิกองค์กรแพทย์ 2.6 ปฏิบัติตามธรรมนูญฯ และมติองค์กรแพทย์ หมวดที่สี่ จริยธรรมแพทย์ ข้อเจ็ด สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโรงพยาบาล ข้อแปด สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่ปฏิบัติอยู่ ทั้งนี้กฎระเบียบข้อบังคับต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบในข้อเจ็ด ข้อเก้า สมาชิกทุกคนต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับของสาขาวิชาชีพนั้นในองค์กร ข้อสิบ สมาชิกทุกคนต้องเคารพต่อสิทธิของผู้ป่วยตามบทบัญญัติสิทธิผู้ป่วย หมวดที่ห้า คณะกรรมการองค์กรแพทย์ ข้อสิบเอ็ด 1. คณะกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าสิบห้าคน และไม่มากกว่าสามสิบห้าคน 2. ที่มาของคณะกรรมการประกอบไปด้วย 2.1 แพทย์จากภาควิชา ฯ ละหนึ่งคนที่มีตำแหน่งอาจารย์แพทย์รับผิดชอบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุนs หรือ อาจารย์แพทย์ผู้แทน 2.2 แพทย์จากงานทันตกรรมหนึ่งคน 2.3ตัวแทนแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุน หนึ่งคน 2.4อาจารย์แพทย์ที่สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวนไม่เกินสิบคนโดยการคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา ข้อสิบสอง ให้คณะกรรมการ ดำเนินการคัดเลือกกรรมการขึ้นทำหน้าที่ประธานฯ ดำเนินการคัดเลือก รองประธานเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการเหรัญญิก และกรรมการผู้รับผิดชอบยุทธศาสตร์ โดยแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโดยกำหนดให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. ประธานมีหน้าที่ เป็นหัวหน้ารับผิดชอบการดำเนินกิจการขององค์กรแพทย์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการองค์กรแพทย์และเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมกับคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ 2. รองประธานมีหน้าที่ รักษาการและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรณีที่ประธานไม่สามารถอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้ และดำเนินงานตามที่ประธานมอบหมาย 3. เลขานุการมีหน้าที่ จัดการประชุม จัดทำรายงานการประชุม ควบคุมรักษากฎ ระเบียบ และประสานงานระหว่างกรรมการและสมาชิก 4. ผู้ช่วยเลขานุการมีหน้าที่ ช่วยเหลือเลขานุการตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่แทนกรณีที่เลขานุการไม่สามารถอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 5. เหรัญญิกมีหน้าที่ รับ จ่าย และรักษาเงินขององค์กรแพทย์ รวมทั้งจัดทำรายงานบัญชีเสนอที่ประชุมตามวาระการประชุม 6. กรรมการมีหน้าที่ เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น และออกเสียงลงมติใน การประชุมคณะกรรมการ และดำเนินงานตามที่ประธานมอบหมาย ข้อสิบสาม คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1. ดำเนินกิจการขององค์กรแพทย์ให้เป็นไปตามเป้าหมายและพันธกิจ 2. ตรา กฎ ระเบียบ หรือลงมติ เพื่อให้สมาชิกปฏิบัติ ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับธรรมนูญองค์กรแพทย์ 3. ตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมขององค์กรแพทย์ 4. ควบคุม และกำกับสมาชิกให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือมติขององค์กรแพทย์ ข้อสิบสี่ คณบดี มีอำนาจสั่งการให้คณะกรรมการทั้งชุดพ้นจากวาระก่อนกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ ถ้าเห็นว่าคณะกรรมการไม่สามารถดำเนินกิจการขององค์กรแพทย์ให้เป็นไปตามเป้าหมายและพันธกิจที่กำหนดไว้ คณบดี มีอำนาจถอดถอนกรรมการที่สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามเสนอขอให้ถอดถอน ข้อสิบห้า กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ 1. ครบวาระของคณะกรรมการ 2. ขาดสมาชิกภาพของสมาชิก 3. ลาออก 4. คณะกรรมการไม่น้อยกว่าสองในสามลงมติให้พ้นจากตำแหน่ง 5. สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร่วมลงชื่อให้พ้นจากตำแหน่ง 6. ตามเงื่อนไขข้อสิบห้า หมวดที่หก การสรรหาคณะกรรมการองค์กรแพทย์ ข้อสิบหก ให้คณะกรรมการเสนอคณบดีเพื่อ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาจำนวนไม่เกินห้าคน เพื่อดำเนินการสรรหากรรมการตามข้อสิบเอ็ดและดำเนินการต่อไปนี้ 1.1 ขอรายชื่อแพทย์ตัวแทนจากแต่ละภาควิชาหนึ่งคนต่อภาควิชา เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการองค์กรแพทย์ 1.2 ขอรายชื่อแพทย์ตัวแทนงานทันตกรรมหนึ่งคน เพื่อแต่ตั้งเป็นกรรมการองค์กรแพทย์ 1.3 ขอรายชื่อตัวแทนแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนหนึ่งคน เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการองค์กรแพทย์ 1.4 ประกาศรับสมัครแพทย์ที่สนใจและคัดเลือกเพื่อเป็นกรรมการไม่เกิน 7 คน ข้อสิบเจ็ด ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับสรรหา ให้คณบดีแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการองค์กรแพทย์ ข้อสิบแปด สมาชิกทุกคนมีสิทธิสมัครและเสนอชื่อแพทย์เพื่อเป็นกรรมการ ข้อสิบเก้า การสรรหากรรมการ ต้องสรรหากรรมการไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ ข้อยี่สิบ คณะกรรมการสรรหาต้องดำเนินการประกาศรายชื่อคณะกรรมการทั้งหมดให้สมาชิกทราบอย่างทั่วถึงภายในเวลาสามสิบวันหลังจากคณบดีลงนามแต่งตั้ง ข้อยี่สิบเอ็ด การดำเนินการตามข้อสิบเจ็ดถึงข้อยี่สิบเอ็ดต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนครบวาระของคณะกรรมการ ข้อยี่สิบสอง เมื่อมีกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระไม่น้อยกว่าหกเดือน ให้เลือกตั้งกรรมการใหม่ขึ้นทดแทนภายในสี่สิบห้าวัน โดยใช้ระเบียบการสรรหาทั่วไป และกรรมการใหม่ พ้นจากตำแหน่งตามวาระของคณะกรรมการชุดนั้นๆ ข้อยี่สิบสาม คำจำกัดความ 1. การประชุมคณะกรรมการ หมายถึง การประชุมคณะกรรมการองค์กรแพทย์ 2. การประชุมสมาชิกองค์กรแพทย์ หมายถึง การประชุมแพทย์ และทันตแพทย์ทั้งหมด หมวดที่เจ็ด การจัดประชุม ข้อยี่สิบสี่ ประธานองค์กรแพทย์ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหกครั้ง และต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม ข้อยี่สิบห้า ประธานองค์กรแพทย์ต้องจัดใหัมีการประชุมสมาชิกองค์กรแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง หมวดที่แปด มติขององค์กรแพทย์ ข้อยี่สิบหก คณะกรรมการจะลงมติได้ ต่อเมื่อมีผู้เข้าประชุมครบองค์ประชุม ข้อยี่สิบเจ็ด มติของคณะกรรมการต้องมีเสียงสนับสนุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม ข้อยี่สิบแปด มติของคณะกรรมการถือเป็น กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่สมาชิกต้องปฏิบัติ ข้อยี่สิบเก้า คณะกรรมการจะต้องแจ้งมติการประชุมให้สมาชิกที่เกี่ยวข้องทราบ ข้อสามสิบ สมาชิกผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมติขององค์กรแพทย์ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ และมติที่ผ่านการทบทวนแล้วถือเป็นสิ้นสุด ข้อสามสิบเอ็ด การแก้ไขมติของคณะกรรมการ จะต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการเท่านั้น และต้องมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด ข้อสามสิบสอง คณบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ มีอำนาจยับยั้งมติของคณะกรรมการ หมวดที่เก้า การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญองค์กรแพทย์ ข้อสามสิบสาม การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญองค์กรแพทย์ จะต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการเท่านั้น และต้องมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ทั้งนี้ จะต้องกำหนดเข้าในวาระการประชุม และแจ้งกำหนดการประชุมให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทำการ หมวดที่สิบ บทเฉพาะกาล ข้อสามสิบสี่ ให้คณะกรรมการองค์กรแพทย์เป็นคณะกรรมการรักษาการตามธรรมนูญนี้ จนกว่าจะมีคณะกรรมการองค์กรแพทย์จากการสรรหาที่สมบูรณ์