การอย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย stroke

การอย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย Stroke

ประเภทผลงานนวัตกรรม       :      นวัตกรรมด้านการบริการ

 

สรุปผลงานโดยย่อ  :

ผู้ป่วย stroke มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจสูงมากจากจากพยาธิสภาพของโรคจากภาวะหลอดเลือดตีบ/อุดตัน/แตก ซึ่งทีมผู้รักษาพยาบาลต้องเฝ้าคอยระวัง ป้องกัน และรีบรักษาภาวะปอดอักเสบหรือการติดเชื้อโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล(NI)เพื่อต้องการให้ผู้ป่วยอย่าเครื่องช่วยหายใจและได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น หอผู้ป่วย acute stroke unit จึงได้นำแนวทางการประเมินผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจโดยใช้แบบฟอร์ม Apache II score ของหน่วยระบบทางเดินหายใจภาควิชาอายุรศาสตร์ และ Ventilator bundle ประเมินผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นการสร้างความตระหนักให้บุคลากรสามารถประเมินแนวโน้มการอยากเครื่องช่วยหายใจและทราบภาวะแทรกซ้อนและสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นปอดบวมหรือติดเชื้อในโรงพยาบาลและให้การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น

ผลการศึกษาจากสถิติ มิถุนายน 2553 ถึง มิถุนายน 2554

ผู้ป่วยจำนวนทั้งหมดในหอผู้ป่วย 347 คน ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ 89 คนคิดเป็น (25.64%)

ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตก 51 คน (57.3% )

หลอดเลือดตีบ 38 คน (42.7%)

พบว่าผู้ป่วยสามารถ wean off ครั้งแรกได้ระยะเวลาใส่เครื่องหายใจ     2-5วัน  จำนวน 46 คน (51.7%)  แต่ต้องได้รับ re-intubation จำนวน 5คน (5.61%) เนื่องจากไม่สามารถไอขับ secretion ได้จาก pneumonia ผู้ป่วยที่ไม่สามารถ wean off ครั้งแรกระยะเวลาใส่เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 14 วันจำนวน 43 คน เนื่องจากเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 26คน (29.2%) ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม หรือไม่สมัครอยู่ ถึงแก่กรรมหลังจำหน่าย แต่อีก 17 คน (19.9%) สามารถ wean offในระยะที่สอง เพราะได้รับการเจาะคอและรักสาเหตุภาวะปอดบวมจากการติดตามที่บ้านหลังจำหน่าย 1เดือนพบปะพบว่าผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 8คน (8.9%) พิการเดินได้ถ้ามีคนพยุง 11 คน (12.4%) ติดเตียงได้รับการดูแลที่บ้าน 36 คน (40.5%) และถึงแก่กรรม 34 คน (38.2%)

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการอย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย stroke มิถุนายน พ.ศ.2553 ถึง 2554

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม  :

วิธีการศึกษา

  1. ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. นำแบบฟอร์ม Apache II score และ Ventilator bundle ประเมินผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ
  3. Conference ทุกเช้ากับทีมพยาบาลและทีมแพทย์ กรณีมีผู้ป่วยสงสัยเกิดปอดบวมหรือติดเชื้อโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล(NI)และแนวโน้มการอย่าเครื่องช่วยหายใจ
  4. วิเคราะห์และสรุปผล outcome จากแบบฟอร์มและบันทึกทางการพยาบาลและprogress note ของแพทย์

 

 

ข้อเสนอแนะ

เจ้าหน้าที่ที่มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังและป้องกัน การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการถอดท่อเครื่องช่วยหายใจเร็วขึ้น ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพเร็วขึ้นแต่ outcome ของผู้ป่วยอาจไม่ดีเพราะพยาธิสภาพสมองของผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายมากและถึงแก่กรรมหลังจำหน่ายด้วยสาเหตุอื่น เช่นการติดเชื้อซ้ำ ชัก หรือโรคหัวใจเป็นต้น ดังนั้นสถิติ national stroke association พบว่าผู้ป่วย acute stroke ถึงแก่กรรมอย่างรวดเร็ว 15 % ต้องได้รับการดูแลในสถานพยาบาลตลอดชีวิต 10% ผู้ป่วยพิการ 40% อาการดีขึ้นแต่มีความผิดปกติบางส่วน25% และมีชีวิตเป็นปกติ 10 %