การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบด้วยยาละลายลิ่มเลือด

ประเภทผลงานนวัตกรรม      :  นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation )

สรุปผลงานโดยย่อ                  :

สรุปผลการศึกษา

1.จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดในหอผู้ป่วยวิกฤตสมองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง 2555 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการประชาสัมพันธ์แก่โรงพยาบาลชุมชนและบุคคลทั่วไปทำให้การส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตั้งแต่เกิดอาการจนกระทั่งได้รับการได้รับยาละลายเล่มเลือดภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 ได้ทำการขยายเวลาเป็น 4.5 ชั่วโมงตามหลักฐานเชิงประจักษ์

2.DTN ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ถึง 2555 มีแนวโน้มลดลง จากการพัฒนาทักษะของทีมผู้ให้การดูแลตั้งแต่การประเมินผู้ป่วยแรกรับและการบริหารยาละลายลิ่มเลือดแต่ด้วยการหมุนเวียนแพทย์จึงอาจส่งผลให้ DTN มากบางช่วงเวลา

3.จำนวน SICH ภายใน 36 ชั่วโมง จำนวน AICH และผู้ป่วยถึงแก่กรรมหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก มีการติดตามประเมินอาการแสดงและให้การพยาบาลที่ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมองเช่นการจัดการภาวะความดันโลหิตสูง การป้องกันอาการท้องผูกการดูแลในกรณีที่ผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออกและการจัดการความเจ็บปวดเป็นต้น ข้อเสนอแนะการทบทวนผลการรักษาการพยาบาลทำให้พยาบาลได้ พัฒนาความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์    :         ศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด

วิธีดำเนินการศึกษา

คือศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบทุกรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2550

ผลการศึกษา

1.จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาลิ่มเลือดในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ถึง 2555 จำนวน 9, 27, 53, 98 และ 84 คนตามลำดับ

  1. เวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงแผนกฉุกเฉินจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือดตั้ง(door to needle time)แต่ปีพ.ศ. 2551 ถึง 2555 เท่ากับ 62 ,66 ,67 ,53 และ 60 นาทีตามลำดับ
  2. อัตราผู้ป่วยที่เกิดภาวะเลือดออกในสมองแบบมีอาการ(symptomatic intracerebral hemorrhage) ภายในระยะเวลา 36 ชั่วโมงหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ถึง 2555 เท่ากับร้อยละ 11 ,11 ,15 ,11 และ 10 ตามลำดับ
  1. อัตราผู้ป่วยที่เกิดภาวะเลือดออกในสมองแบบไม่มีอาการ(asymptomatic intracerebral hemorrage)หลังจากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ถึง 2555 เท่ากับ 11, 26, 60 และ 18 ตามลำดับ
  2. อัตราผู้ป่วยถึงแก่กรรมในโรงพยาบาลหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ถึง 2555 เท่ากับ ร้อยละ 22 ,4 ,0 ,8 และ4 ตามลำดับ