โปรแกรมกระตุ้นการสื่อสารในผู้ป่วย Aphasia

โปรแกรมกระตุ้นการสื่อสารในผู้ป่วย Aphasia

 

          ประเภทผลงานนวัตกรรม       :      นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์(Product Innovation )

สรุปผลงานโดยย่อ       ผู้ป่วย acute stroke นอกจากมีอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งแล้วมักมีปัญหาเรื่องการพูดและความไม่เข้าใจภาษาจากหลอดเลือดสมองอุดตันทำให้สมองซีกซ้ายส่วนที่ควบคุมการพูด Broca area หรือความเข้าใจในภาษา wernike area ได้รับบาดเจ็บ หอผู้ป่วยได้ทำแนวทางการฝึกพูดและมอบหมายให้พยาบาลเจ้าของไข้ได้ฝึกผู้ป่วยในระหว่างที่นอนโรงพยาบาล สรุปผลในวันที่จำหน่ายพร้อมทั้งโทรศัพท์ตามผู้ป่วยเมื่อครบ 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้เริ่มออกเสียงพูดได้ได้ในช่วงจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แต่ยังมีผู้ป่วย 3 คน(ไม่นับผู้ป่วยเจาะคอ)ที่ยังพูดไม่ได้และญาติไม่ได้ฝึกพูดต่อในช่วงปี2551-2553 หอผู้ป่วยจึงคิดพัฒนาวิธีการสื่อสาร โปรแกรมกระตุ้นการสื่อสารเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ฝึกผู้ป่วยให้สามารถสื่อสารได้เริ่มด้วยการฝึกกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น ปาก การออกเสียงพูด การดูรูปภาพ

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์                :    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่ได้รับอันตรายที่สมองส่วนควบคุมการพูดหรือความเข้าใจภาษาได้รับการฝึกฝนจากบุคลากรหรือcaregiver อย่างต่อเนื่องจะสามารถพูดและสื่อสารได้ 100 %

 

วิธีการศึกษา  

1.ทบทวนเอกสารจากแบบฝึกพูดและการสื่อสารในหอผู้ป่วยจากการดัดแปรงมาจากแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพจากศูนย์สิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพแห่งชาติสร้างเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปประกอบด้วยเนื้อหาการฝึกคือ

บทที่1ฝึกการเคลื่อนไหวปากและใบหน้า

บทที่2  กลไกการออกเสียง

บทที่3 การจับคู่คำ

บทที่4 การจับคู่คำกับรูปภาพ

2.คิดคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมตามโปรแกรม

3.นำไปทดลองใช้กับผู้ป่วย

4.นำกลับมาปรับปรุงจนสามารถใช้ได้

5.ประเมินผลการใช้โดยบุคลากร

6.ประเมินผลการใช้จากผู้ป่วย

7.สอบถามผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้านด้านความสามารถในการพูดและสื่อสาร

ผลการศึกษา

เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้ทดลองใช้โปรแกรมจำนวน 15 คนได้ตอบแบบสอบถามทดลองใช้พบว่าความสมบูรณ์ด้านเนื้อหา 80% สามารถใช้ง่าย 80% ใช้เวลาเฉลี่ย 7 นาที จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในหอผู้ป่วยและกลับไปฝึกต่อที่บ้านและสามารถพูดได้จำนวน 5คนระยะเวลาที่เริ่มจัดทำโปรแกรมและทดลองใช้กรกฎาคม ถึงมกราคมปีพ.ศ.2554-2555

 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

บุคลากรเกิดความตระหนักในเรื่องพูดและสื่อสารของผู้ป่วยโดยจะมีการประเมินปัญหาด้านการพูดตั้งแต่แรกรับนอนในโรงพยาบาลโดยเฉพาะกับผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น left MCA infarction มีการมอบหมายการสอนผู้ป่วยประเมินผลและบันทึกทางการพยาบาลได้สรุปผลวันจำหน่ายและติดตามหลังจำหน่ายและสอนญาติในการฝึกพูดเพราะพบว่าถ้าบุคลากรฝึกญาติเพื่อสอนผู้ป่วยผู้ป่วยจะร่วมมือและมีความก้าวหน้าได้เร็วกว่าจากบรรยากาศความรักความผูกพันในครอบครัวพร้อมกันนี้หอผู้ป่วยได้แจกแผ่นซีดีและเอกสารการฝึกพูดที่บ้านต่อและเมื่อผู้ป่วยกลับมาF/Uที่ OPD stroke จะมีการประเมินซ้ำและสอนซ้ำต่อกรณีที่ยังพบปัญหาการพูด

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

ผู้ป่วยที่มีการศึกษาสูงหรือในวัยกำลังทำงานหรือผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าจะสามารถฝึกพูดและสื่อสารได้ 100% ซึ่งเร็วกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อย ผู้ที่ไม่ได้ทำงานหรือผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่ซึมเศร้าจะไม่สนใจสิ่งแวดล้อมหรือรับรู้สิ่งที่บุคคลากรสอน จำเป็นต้องรายงานแพทย์ทราบประเมินให้การรักษาก่อนที่จะเริ่มฝึกพูดและบุคลากรต้องสร้างบรรยากาศเป็นกันเองสนุกสนานและญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจะทำให้ผู้ป่วยร่วมมือและตั้งใจฝึกมากขึ้นและจากการที่หอผู้ป่วยรับ ผู้ป่วยในภาวะเฉียบพลันซึ่งมีจำนวนวันนอนเฉลี่ยประมาณ7วันทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเช่นสมองบวมในช่วงแรกและยังไม่พร้อมในการฝึกพูดจำเป็นต้องย้ายออกไปหอผู้ป่วยสามัญเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว หอผู้ป่วยจึงได้ประสานกับบุคลากรที่อยู่ในหอผู้ป่วยสามัญเป็นผู้ฝึกพูดให้ผู้ป่วยและญาติต่อ