รูปแบบการรับ-ส่งเวรข้างเตียงโดยกำหนดตำแหน่งและหน้าที่เลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพ

 

(The nurses’ bedside handover development as CPR code for saves the patient’s life)

ประเภทผลงานนวัตกรรม (Innovation category)                วัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation Project), วัตกรรมความปลอดภัยผู้ป่วย (Patient Safety Innovation Project)

 

คำสำคัญ   การรับ-ส่งเวรข้างเตียง, CPR code

 

สรุปผลงานโดยย่อ (Project summary)

               กระบวนการรับส่งเวรผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานของพยาบาล การรับส่ง-เวร เป็นการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยจากเวรหนึ่งสู่อีกเวรหนึ่งเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมในทุกๆด้าน ข้อมูลที่ส่งต่อมาต้องครบถ้วนและไม่ขาดหายไป ซึ่งรูปแบบการส่งเวรแบบเดิมบางครั้งไม่ครอบคลุมความเสี่ยงทางคลินิกและจริยธรรม ได้แก่ อาการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย ความคลาดเคลื่อนทางยา แผลกดทับ ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ภาวะติดเชื้อ ความต้องการของผู้ป่วย  เป็นต้น ทำให้บางเหตุการณ์เกิดความล่าช้าในการรักษา เกิดภาวะคุกคามของโรคมากขึ้นตลอดจนเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วย หอผู้ป่วยจึงจัดพัฒนารูปแบบการส่งเวรขึ้นโดยบูรณาการโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพ ISITDOWN model เข้ามาใช้ จากการใช้รูปแบบการรับ-ส่งเวรข้างเตียงโดยกำหนดตำแหน่งและหน้าที่เลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพนี้ สามารถดักจับความผิดพลาด (error) ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์(Objective)

               เพื่อปรับปรุงรูปแบบการรับส่งเวรให้มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงทางคลินิกและจริยธรรม

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม (Conceptual framework)

               รูปแบบการส่งเวรแบบเดิมบางครั้งไม่ครอบคลุมความเสี่ยงทางคลินิกและจริยธรรมจึงบูรณาการการเยี่ยมตรวจขณะรับ-ส่งเวร (Change of shift rounds) ร่วมกับการมอบหมายหน้าที่ให้กับบุคลากรในแต่ละเวรโดยเลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพ ทำให้ทราบหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน โดยใช้กรอบแนวคิดของ ISITDOWN model เพื่อปรับปรุงคุณภาพการรับส่งเวร

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม (Development process)

1. รวบรวมข้อมูลปัญหาและอุปสรรคของการรับส่งเวรแบบเดิม

2. ทบทวนความรู้ทางวิชาการ ศึกษาค้นคว้าจากตำรา วิธีการ กรอบแนวคิด เกี่ยวกับการรับส่งเวร

3. สร้างนวัตกรรมรูปแบบการรับ-ส่งเวรข้างเตียงโดยกำหนดตำแหน่งและหน้าที่เลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพ

4. จัดเตรียมเอกสารนวัตกรรมรูปแบบการรับ-ส่งเวร

5. ประเมินผลรูปแบบการรับ-ส่งเวรข้างเตียงโดยกำหนดตำแหน่งและหน้าที่เลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพจากอุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและจริยธรรม

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์ (Innovation evaluation)

               บุคลากรหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือด 2 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการรับ-ส่งเวรข้างเตียงโดยกำหนดตำแหน่งและหน้าที่เลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพ ในระดับดีถึงดีมาก และสามารถเยี่ยมตรวจผู้ป่วยโดยใช้ รูปแบบการส่งเวรแบบใหม่ได้ และสามารถดักจับความเสี่ยงทางด้านคลินิกและจริยธรรมได้

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ (Lesson learn)

               นวัตกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยสอดคล้องกับนโยบายของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ให้หอผู้ป่วยนำ I-SIDOWN model มาใช้ในการเยี่ยมตรวจผู้ป่วย  หากบุคลากรในหอผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจรูปแบบการรับ-ส่งเวรข้างเตียงโดยกำหนดตำแหน่งและหน้าที่เลียนแบบโค้ดการช่วยฟื้นคืนชีพ จะช่วยลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงทางด้านคลินิกและจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้น เช่น ท่อระบายเลื่อนหลุด การพลัดตกหกล้ม เป็นต้น และผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจในการดูแล  สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในการดูแลผู้ป่วยด้วยใช้หลัก Patient Safety Goals ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงและดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย ส่วนโอกาสพัฒนาจะมีการรวบรวมข้อมูลและการเก็บผลลัพธ์อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางด้านคลินิกและจริยธรรมอย่างเป็นระบบ

 

อ้างอิง/บรรณานุกรม (Reference)

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (2562). ประกาศฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาล

           มหาราชนครเชียงใหม่ เรื่อง นโยบาย I SIT DOWN model. 

รจนา โมราราช. (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยสูติกรรม        

          โรงพยาบาลสกลนคร (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). 

Riegelmayer, K.(2013). SITDOWN:Are you ready to leave the bedside?. Made incredibly Easy!,

          11(2), 54. Retrieved from https://journals.lww.com/nursingmadeincrediblyeasy.