การปิดแผล HD catheter แบบข้าวต้มมัด

ลักษณะนวัตกรรม                           เป็นผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอด

 

ประเภทของนวัตกรรม                    นวัตกรรมด้านกระบวนการ(Process Innovation)

 

ชื่อเจ้าของนวัตกรรม                      นิคม คำเหลือง และ เจ้าหน้าที่หน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียม

 

ชื่อหน่วยงาน / สังกัด                      หน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียม งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์

 

ที่มาของการทำนวัตกรรม

                  ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทีรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมี HD catheter ติดตัวอยู่ตลอดเวลาโดยการใช้พลาสเตอร์ปิดกับผิวหนัง การปิดพลาสเตอร์กับตัวผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาสร้างความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยเป็นอย่างมากในบางรายอาจมีการแพ้พลาสเตอร์ที่ใช้ปิด บางรายมีอาการคันมาก เพราะพื้นที่ในการปิดพลาสเตอร์ที่สัมผัสกับผิวหนังผู้ป่วยเป็นบริเวณกว้าง

 

หลักการและแนวคิด

                  การเพิ่มความสุขสบายให้กับผู้ป่วยที่คาสาย HD catheter และต้องปิดพลาสเตอร์กับผิวหนังตลอดเวลา นั้นทำให้ทางหน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียมคิดวิธีปิดพลาสเตอร์ที่จะทำให้พลาสเตอร์ติดกับผิวหนังผู้ป่วยเป็นบริเวณที่น้อยที่สุดที่จะสามารถคลุมทับแผล exit site และช่วยพยุงไม่ให้ HD catheter  หลุด รวมทั้งไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยเฉพาะการติดเชื้อ

 

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย
          2. ผู้ป่วยปลอดภัย

 

วันที่เริ่มต้นทำนวัตกรรม                 1 มีนาคม 2562

 

ระยะเวลาการดำเนินการ                4 สัปดาห์

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

          1. รวบรวมปัญหาความไม่สุขสบายเนื่องจากการปิดพลาสเตอร์จากผู้ป่วยที่มี HD catheter โดยเฉลี่ยแล้วอัตราความไม่สุขสบายอยู่ระดับ 7-8 (ปรับใช้ตารางการเปรียบเทียบความไม่สุขสบายจาก คะแนนความเจ็บปวด)

 

การติดพลาสเตอร์แบบเต็มรูปแบบ

 

2.อธิบายถึงความไม่สุขสบายที่เกิดจากการปิดพลาสเตอร์กับผู้ป่วยซึ่งมีการติดเป็นบริเวณกว้างและอาจมีการแพ้พลาสเตอร์ได้

         

 

3.อธิบายการติดพลาสเตอร์แบบข้าวต้มมัดเพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษา

4.ติดตามผลการติดพลาสเตอร์แบข้าวต้มมัด

 

วิธีการดำเนินงาน

รวมรวมวิธีการทำแผลแบบข้าวต้มมัดแบบต่าง ๆ และรวบรวมข้อดี ข้อเสียของการทำแต่ละวิธี

 

วิธีการทำแผลแบบข้าวต้มมัดแบบต่าง ๆ

การปิดพลาสเตอร์แบบข้าวต้มมัด เป็นหลักการของการลดพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างกาวพลาสเตอร์กับผิวหนังผู้ป่วยโดยที่ยังคงหลักการของการทำแผล อยู่น่าจะเป็นการตอบโจทก์ที่ถูกทางอันจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับปัญหาการเกิดผื่นเนื่องจาก พลาสเตอร์อีกต่อไป

 

วิธีทำการปิดพลาสเตอร์แบบข้าวต้มมัด

ตัวอย่างการติดพลาสเตอร์ “ข้าวต้มมัด “ ในรายอื่น ๆ

 

ผลการดำเนินการ