แนวปฎิบัติผู้ป่วย CA thyroid

ประเภทของนวัตกรรม                    นวัตกรรมด้านกระบวนการ(Process Innovation)

 

สรุปผลงานโดยย่อ

                                 หอผู้ป่วยโรคปอดรับผู้ป่วยCA thyroid ซึ่งเป็นโรค Top 3 ของหอผู้ป่วยโดยจะรับผู้ป่วย จำนวน 5 เตียง ต่อสัปดาห์ในปี 2558 รับผู้ป่วย CA thyroid จำนวน 220 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์และมีความจำเป็นที่จะได้รับสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน131 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีอันตรายสูง ทำให้บุคลากรทางการพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วย เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากรังสี รวมถึงมีการกระจายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ปัญหาผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับการรักษาพบปัญหาผู้ป่วยส่วนใหญ่พร่องความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา การปฏิบัติตัวและการป้องกันการแพร่กระจายรังสีสู่บุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม

                                หอผู้ป่วยเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน131เพื่อเพิ่มสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางสำหรับโรค CA thyroid สำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาลและบุคลากรให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังไอโอดีน131เพื่อให้การพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและลดการเกิดอุบัติการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

          1. เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังไอโอดีน131แก่บุคลากรพยาบาลแต่ละระดับในหอผู้ป่วย
          2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
          3. เพื่อป้องกันอันตรายจากสารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131 สู่บุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม
          4.  เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนจากการกลืนรังสีไอโอดีน131
          5. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ในปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องทั้งขณะที่อยู่โรงพยาบาลและที่บ้าน

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม                             เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่กระจายรังสีต่อสิ่งแวดล้อม

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม  

          1. วางแนวทางจัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังไอโอดีน131
          2. สื่อสารให้ทีมบุคลากรรับทราบถึงโครงการนิเทศ
          3. จัดนิเทศเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังไอโอดีน131 ตามคู่มือการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์
          4. จัดทำแนวปฏิบัติและแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
          5. ติดตามผลการดำเนินงานทั้งการสังเกต การปฏิบัติงานและบันทึกทางการพยาบาล
          6. ประเมิน competency

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์ :

          1. 1.ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง 80% หลังดูวิดีโอ.การปฏิบัติตัวโดยการสังเกตของเจ้าหน้าที่ผ่านจอมอนิเตอร์
          2. ผู้ป่วยตอบคำถามถูกต้อง > 80% หลังได้รับการสอนและดูวิดีโอ.การปฏิบัติตัวตามแบบประเมินความรู้
          3. ผู้ป่วยมีความพร้อมในการมา Admit ครั้งต่อไป > 90%
          4. สามารถจำหน่ายผู้ป่วยภายใน 3 วัน ตามที่กำหนด > 90 %

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

          1. เมื่อบุคลากรมีความรู้ก็ตระหนักและมีความมั่นใจที่จะทำและปฏิบัติงาน
          2. เมื่อผู้ป่วยมีความรู้ก็จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนการรักษาและการดูแลตัวเอง

 

ปัญหาและอุปสรรค

                                  หลังจากได้ดำเนินโครงการพบว่าผู้ป่วยบางคนยังไม่เข้าใจเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องทำให้ปริมาณรังสีก่อนกลับบ้านสูง เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุการฟังคำอธิบายอาจไม่เห็นชัดเจนคล้ายการดูวิดีโอเพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความมั่นใจขณะได้รับการรักษา เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวการทานยา Thyrosit อย่างถูกต้อง และการมาตรวจตามนัด