โครงการวางแผนจำหน่ายโดย DC planner

ชื่อโครงการ                        โครงการวางแผนจำหน่ายโดย DC planner

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม                       นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation)

 

สรุปผลงานโดยย่อ 

                                การวางแผนจำหน่ายในหอผู้ป่วยนั้นได้ทำการสื่อสารจุดเน้นของโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นการเป็นโรงพยาบาลคุณธรรมและการสร้างคุณค่าอัตลักษณ์โรงพยาบาลคือ”สามัคคี มีวินัย ใส่ใจบริการ” และลงสู่การปฎิบัติในทุกหน่วยงานพร้อมทั้งทำการส่งเสริมให้มีการปฎิบัติโดยยึดหลักตามหลักจริยธรรมทางการพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากการดำเนินงานจริยธรรมพบว่าบุคลากรมีความเข้าใจ สามารถปฎิบัติ เชื่อมโยงการปฎิบัติทางคลีนิคกับหลักจริยธรรมได้เป็นอย่างดี เกิดบรรยากาศจริยธรรมในองค์กรอย่างต่อเนื่องและอุบัติการณ์ ข้อร้องเรียนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

                                 การพัฒนาการวางแผนจำหน่ายโดยจัดให้มี Discharge Planner ขึ้นในระหว่างดำเนินงานที่ผ่านมาคือ ระหว่างเดือน ธันวาคม ปี 2560 ถึง เดือนมีนาคม ปี 2561พบว่า การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการดูแลโดยญาติ หรือผู้ดูแล ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล พร้อมทั้งได้รับส่งเสริมการใช้แหล่งประโยชน์ที่จำเป็น ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่อยู่บ้าน นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาล และสามารถลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลด้วยเวลาที่เหมาะสม อีกทั้งยังได้รับการติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในการดูแลรักษา ดังตารางตัวชี้วัดที่แสดงดังนี้

 

 

เดือน/เรื่อง อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ โดยการใช้แบบสอบถาม มีการโทรศัพท์ติดตามอาการ LOS การติดตามภาวะแทรกซ้อน compliance ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

การre-admission

    ธ.ค.                          96.7        10 case 13 day                 10 case(100%) 2(Dysnea ,Pleural effusion)
    ม.ค.                          97.5          7 case 10 day                   7 case(100%) 1(CRBSI with Volume-Overload)
    ก.พ.                          96.8          5 case 8 day                    5 case(100%) 0
    มี.ค.                           92.8          5 case 13.4day                    5 case(100%) 0

 

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ 

          1. บุคลากรพยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวางแผนจำหน่ายที่เป็นรูปธรรม
          2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคหลักและโรคร่วม
          3. ผู้ป่วยมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นลง( LOS)

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม

                                    ปี 2562 ทางโรงพยาบาลมีนโยบายที่จะให้หน่วยงานได้รับการรับรองขั้นก้าวหน้า (Advanced HA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลตามเกณฑ์การประเมิน เรื่องการวางแผนการจำหน่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ และได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล   ทางหอผู้ป่วยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนจำหน่ายโดยมีระบบพร้อมกระบวนการที่ชัดเจนขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมและต่อเนื่องจากโรงพยาบาล และเพื่อป้องกันปัญหาที่ส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำและอาการหนักมากยิ่งขึ้น หอผู้ป่วยจึงได้พัฒนารูปแบบวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย พึงพอใจในการบริการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ผู้ดูแลและครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการกลับเป็นซ้ำของโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม                  ใช้วงจร PDSA, ระยะเวลาดำเนินงานปี 2560-2561

        • จัดระบบงานให้มี Discharge planner
        • จัดทำ Job description ของ Discharge planner
        • เก็บข้อมูล /วิเคราะห์ผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญของหอผู้ป่วยหรือผู้ป่วยที่จำเป็น ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง ที่ต้องได้ร้บการวางแผนจำหน่าย
        • ติดตามประเมินการวางแผนจำหน่ายกลุ่มโรคสำคัญของหอผู้ป่วย
        • พัฒนาปรับปรุงสื่อการสอน/ให้ข้อมูลผู้ป่วย (power point presentation) ในกลุ่ม
        • ติดตามการปฏิบัติการดูแลโดยการเยี่ยมผ่านทาง โทรศัพท์
        • ติดตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางการพยาบาล

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์  

        1. ได้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายของหอผู้ป่วยและ มีระบบงานของ Discharge planner ชัดเจน
        2. มีการติดตาม ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง
        3. ได้แนวทางในการวางแผนจำหน่ายกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญของหอผู้ป่วย

 


   

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

        1. ทำให้บุคลากรของหน่วยงานทุกระดับมีความตระหนัก เห็นความสำคัญ ของการวางแผนจำหน่าย
        2. ทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และสามารถติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ระดับหนึ่ง
        3. หน่วยงานมีแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอย่างชัดเจน ทำให้ได้รับความเชื่อถือ ไว้วางใจ ส่งผลให้หน่วยงานมีชื่อเสียง