แนวปฎิบัติดูแลผู้ป่วย วัณโรค

เจ้าของผลงาน/โครงการ/นวัตกรรม :    หอผู้ป่วยโรคปอด

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม :             นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation )

 

สรุปผลงานโดยย่อ :

                     หอผู้ป่วยโรคปอดรับผู้ป่วยจาก OPD ER หอผู้ป่วยทุกหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่ทั้งเพศชาย และ หญิง ที่ ป่วยเป็นโรควัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อที่มีโรคร่วม หรือโรคมีความรุนแรง  ผู้ป่วยที่มีอาการต้องสงสัย และอยู่ ระหว่างการรอการตรวจวินิจฉัยโรค ขั้นตอนการรับ admit ในหอผู้ป่วยโรคปอด เหมือนหอผู้ป่วยอื่นๆ แต่ไม่สามารถรับทุก case ที่ consult มา เนื่องจากถูกจำกัดด้วยห้องซึ่งผู้ป่วยต้องนอนห้องแยก และเป็นห้องควบคุมความดันอากาศ ปัจจุบันสามารถรับทั้งหมด 15  เตียง แบ่งเป็นของ CA thyroid จำนวน 5 เตียง ของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ 4 เตียง เพราะฉะนั้นจะเป็นของวัณโรค จำนวน 6 เตียง ดังนั้นจึงเป็นปัญหาในการรับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อบางรายไม่สามารถเข้ารับบริการได้ จากการเก็บข้อมูลในปี 2558-59 พบว่ารับผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อจำนวน 268 ราย และผู้ป่วยที่สงสัยเป็นวัณโรค  จำนวน 245 ราย รวมทั้งหมด 513 ราย  ในจำนวนที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคพบว่าเป็นวัณโรคจากการเก็บเสมหะจำนวน 60 ราย และผู้ป่วยบางรายมีปัญหาซับซ้อนที่รุนแรงเช่น Respiratory failure ,Shock จาก sepsis/septic shock , Hypovolemic shock จาก Hemoptysis ,มีการส่งตรวจพิเศษเช่น Bronchoscopy, Thoracocentesis , มีการทำหัตถการใส่ ICD และพบปัญหาผู้ป่วยส่วนใหญ่พร่องความรู้เกี่ยวกับโรคการรักษาการปฏิบัติตัวและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ พบว่าผู้ป่วยขาดความตระหนักในการรับประทานยาหรือมีความท้อแท้ในการรักษาเพราะต้องทานยาติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งผลที่ตามมาเกิดเชื้อดื้อยาได้

                     หอผู้ป่วยเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการการดูแลผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางสำหรับโรควัณโรค สำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาลและบุคลากรให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเพื่อให้การพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและลดการเกิดอุบัติการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

          1. เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ แก่บุคลากรพยาบาลแต่ละระดับในหอผู้ป่วย
          2. เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโรคระยะแพร่เชื้อ
          3. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรับบริการแก่ผู้ป่วย
          4. เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค
          5. เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือหัตถการ

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสู้ชุทชนแบะสิ่งแวดล้อมผู้ป่วยปลอดภัย

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม  

          1. วางแนวทางจัดทำโครงการ การดูแลผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อแบบบูรณาการ
          2. จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรปี 2559-2560
          3. สื่อสารให้ทีมบุคลากรรับทราบถึงโครงการนิเทศ
          4. จัดนิเทศเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อ ดังนี้ การจัดทำแผนนิเทศ   สื่อการนิเทศ สร้างแบบเก็บข้อมูล ทำการนิเทศให้ครบ 100%  ประเมินผลทั้งก่อนและหลังนิเทศ
          5. จัดทำแนวปฏิบัติและแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
          6. ติดตามผลการดำเนินงาน ทั้งการสังเกตการปฏิบัติงานและบันทึกทางการพยาบาล
          7. ประเมิน competency

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์ :

          1. จัดทำนิเทศไปบางส่วน หลังทำนิเทศตามโครงการพัฒนาบุคลากร ได้จัดทำการใช้แนวคิด 3 p ในการนิเทศทางคลินิก  
          2. มีแนวปฏิบัติและแนวทางในการดูแลผู้ป่วย และ แบบเก็บข้อมูล
          3. การเข้าถึงการรับบริการของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น หลังจากเริ่มโครงการเก็บเสมหะให้ได้ภายใน 3 วันที่เข้ารับการรักษา โดย Day 1วันที่ admit เก็บ spot sputum  , Day 2และ Day3 เก็บ morning sputum เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษา และเพิ่มการหมุนเวียนเตียง
          4. มีการวางแผนดูแลผู้ป่วยโดยใช้ MEWS ร่วมกับอาการของผู้ป่วยเข้ามาช่วยในการวางแผนการดูแลและจัดระดับความรุนแรงของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะวิกฤต
          5. ผู้ป่วยทุกรายได้รับความรู้เรื่องโรควัณโรคภายใน 48 ชั่วโมงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรค และผู้ป่วยทุกรายในวันแรกที่เริ่มยาต้านวัณโรคต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับยาและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการได้รับยา
          6. มีการเสริมพลัง ให้กำลังใจและคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา
          7. มีการดูแลต่อเนื่อง
        • กรณีผู้ป่วยไร้บ้าน มีการส่งต่อไปยังบ้านพักของศูนย์ปราบวัณโรค และมีการโทรติดตามเป็นระยะ
        • กรณีผู้ป่วยแรงงานต่างด้าว มีสมุดติดตาม case และมีการโทรติดตามเป็นระยะ
        • กรณีผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ป่วยไร้บ้านหรือแรงงานต่างด้าว รักษาให้เบื้องต้นแล้วส่งต่อไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ์มีการโทรติดตามเป็นระยะ

โดยทุก case ที่โทรติดตามได้จะเน้นย้ำการรับประทานยาไม่ให้หยุดยาเอง เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาและการสังเกตอาการผิดปกติ การมาตรวจตามนัดและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

          1. เมื่อบุคลากรมีความรู้ก็ตระหนักและมีความมั่นใจที่จะทำและปฏิบัติงาน
          2. เมื่อผู้ป่วยมีความรู้ก็จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนการรักษาและการดูแลตัวเอง

 

ปัญหาและอุปสรรค

                 แรกๆบุคลากรเครียดเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ขาดประสบการณ์และความรู้ ทำให้เกิดความตึงเครียด แต่เมื่อได้รับความรู้และทำความเข้าใจ ทำให้เกิดการร่วมมือในการช่วยกันทำโครงการนิเทศให้ผ่านไปได้ด้วยดี