Kardex ความเสี่ยง

ชื่อหน่วยงาน                   หอผู้ป่วยวิกฤตอายุกรรม 1

ผู้จัดทำ

          1. นางสาวนิรมล  ประมะสร
          2. นางชลลดา  ดั้นเมฆ

 

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้บุคลากรมีแนวทางในการประเมินความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วย
          2. เพื่อให้บุคลากรสามารถค้นหาและป้องกันความเสี่ยงไดอย่างครอบคลุม
          3. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้บุคลากรทุกระดับทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย

 

เป้าหมาย

บุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม มากกว่าร้อยละ 80

 

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

               ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

               หอผู้ป่วยอายุรกรรม 1 ให้การดูแลผู้ป่วยที่เกิดภาวะวิกฤตทางอายุรกรรม ในการดูแลผู้ป่วยอาจเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง มีโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การบาดเจ็บ ความเสียหาย เหตุร้าย การเกิดอันตราย สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียชื่อเสียง ภาพลบขององค์การ และบุคลากร เกิดความไม่แน่นอน การไม่พิทักษ์สิทธิหรือศักดิ์ศรีหรือเกิดความสูญเสียจนต้องมีการชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้นหน่วยงานต้องเกิดการจัดการ ในการบริหารความเสี่ยงเพื่อรับรู้ จำกัด และควบคุมผลกระทบ เพื่อลดโอกาสและปริมาณความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

              โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ให้ความสำคัญต่อการจัดการบริหารความเสี่ยง โดยใช้ 2 P safety Goal ในส่วนความปลอดภัยของผู้ป่วย ปี พ.ศ 2561 หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม 1 ได้วิเคราะห์หาความเสี่ยงสำคัญในหน่วยงาน พบการเกิดอุบัติการณ์ สำคัญคือ การเกิดการช่วยฟื้นคืนชีพโดยการกดนวดหัวใจ 1 ครั้ง การดึงท่อช่วยหายใจ 10 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดูแลผู้ป่วยอีกมายมาย ดังนั้นแต่อย่างไรก็ตามทางหอผู้ป่วยยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยให้ครอบคลุมในแต่ละราย ดังนั้นทางคณะจัดทำจึงได้จัดทำ เครื่องมือเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใวนหอผู้ป่วยทั้งยังใช้เป็นตัวสื่อสารให้รับทราบในหน่วยงานโดยผ่าน Kardex

 

วิธีดำเนินงาน

          1. จัดตั้งคณะกรรมการ
          2. กำหนดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยใช้ SIMPLE
          3. ระบุความเสี่ยงลงใน Kardex
          4. นำเสนอในที่ประชุมพยาบาลในหอผู้ป่วย และเริ่มใช้งาน Kardex ความเสี่ยง
          5. ประเมินผลและปรับปรุงโครงการ
          6. สรุปผลโครงการ

 

การวัดผลการเปลี่ยนแปลง

          1. ระบุความเสี่ยงลงใน Kardex ผู้ป่วยได้รับการ Identify Risk

 

          1. มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                การรับรู้ของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน การวางทางการบริหารความเสี่ยง บุคลากรมีแนวทางในการประเมินความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วย สามารถค้นหาและป้องกันความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลผู้ป่วย