ซีดีคำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและญาติ

ลักษณะนวัตกรรม                  เป็นผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอด จากโครงการ/นวัตกรรมเรื่องเทปเสียงคำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและญาติ

 

ชื่อเจ้าของนวัตกรรม                  นางชัชชญา แสงสิงห์

 

ชื่อหน่วยงาน / สังกัด                  หอผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกและให้เคมีบำบัดขนาดสูง

 

รายชื่อสมาชิก 

        1. นางอัจฉราวดี อุเทน
        2. น.ส.ทวินันท์ พรมโน
        3. น.ส.กริษฐา ชัยอารีย์
        4. น.ส.พัชรินทร์ อุ่นใจ
        5. น.ส.พิมนภา ธิราช
        6. น.ส.สุวิดา ฝีปากเพราะ

 

ที่มาของการทำนวัตกรรม

                 เนื่องจากผู้ป่วยในหอผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกและให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงซึ่งภายหลังจากการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างทำให้ต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยและญาติจึงจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองและญาติสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเพราะผู้ป่วยโรคนี้จะมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการกดการทำงานของไขกระดูกซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ค่อนข้างจำเพาะเจาะจงโดยเน้นที่การปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับตัวโรคและเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วยมากที่สุด

 

หลักการและเหตุผล

                 เดิมทางหอผู้ป่วยได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวกับการสอนสุขศึกษาในหอผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นโครงการทำเทปเสียงประกอบการสอนสุขศึกษาแก่ญาติและผู้ป่วย แผ่นพับประกอบการสอน โดยใช้วิธีการบรรยายและใช้สื่อประกอบที่เป็นตัวหนังสือเป็นส่วนใหญ่  หลังจากได้ทำการทดลองสอนและประเมินความรู้หลังจากสอนพบว่าผลลัพธ์ที่ออกมายังไม่เป็นที่พึงพอใจ กล่าวคือยังมีผู้ป่วยและญาติบางรายยังไม่เข้าใจในเนื้อหาและจุดประสงค์ของการสอนเท่าที่ควรทำให้ยังปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ทางหอผู้ป่วยจึงได้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน เห็นตรงกันว่าควรจัดทำรูปแบบการสอนที่รวบรวมทั้งเนื้อหาเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ป่วย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ได้

 

วัตถุประสงค์

        1. ผู้ป่วยและญาติมีความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
        2. ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

วันที่เริ่มต้นทำนวัตกรรม     1 มกราคม พ.ศ. 2559

                                                         

ระยะเวลาการดำเนินการ     1 ม.ค.- 31 ธ.ค.พ.ศ.2562

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน  (กรณีเป็นสิ่งประดิษฐ์ให้แสดงวิธีการประดิษฐ์ พร้อมรูปประกอบ อย่างน้อย 1 – 2 รูป)

        1. จัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับโรค การรักษา การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง กฎระเบียบของโรงพยาบาลและหอผู้ป่วย
        2. นำเนื้อหามาปรับเพื่อทำบทภาพยนตร์
        3. ถ่ายวีดิโอและทำภาพเคลื่อนไหวตามบท
        4. บันทึกวีดีโอลงแฟลชไดร์ฟ 2 อัน
        5. ทดลองเปิดให้ผู้ป่วยและญาติดูแล้วประเมินผลจากความเข้าใจและสอบถามความพึงพอใจ

 

วิธีการดำเนินงาน / วิธีการใช้งานสำหรับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ (พร้อมรูปประกอบ)

                 ต่อแฟลชไดร์ฟบันทึกซีดีคำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและญาติเข้ากับโทรทัศน์ในห้องผู้ป่วยแล้วเปิดให้ผู้ป่วยและญาติดู จากนั้นประเมินผลจากความเข้าใจและสอบถามความพึงพอใจ

 

 

 

 

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของนวัตกรรมและผลลัพธ์  (กรณีที่มีการเทียบเคียง ให้ระบุตัวชี้วัดที่ใช้และสถาบันที่เทียบเคียง)

ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ปฏิบัติได้
(KPI) (Target) ผลลัพธ์ก่อนการดำเนินการเฉลี่ย

ปี2558

ผลลัพธ์หลังการดำเนินการ

(ต.ค.59 -มี.ค.60)

1.ผลการสอนสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติเฉลี่ยรวมทั้ง

3 ด้านได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ  ด้านความสามารถในการดูแลตนเอง

ด้านความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน

>90% 96.86%

 

98.45%

 

ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ปฏิบัติได้
(KPI) (Target) ผลลัพธ์ก่อนการดำเนินการเฉลี่ย

ปี2561

ผลลัพธ์หลังการดำเนินการ

ปี2562

1.ผลการสอนสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติเฉลี่ยรวมทั้ง

3 ด้านได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ  ด้านความสามารถในการดูแลตนเอง

ด้านความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน

>90% 98.15

 

 งบประมาณที่ใช้ (ถ้ามี)

– ไมโครโฟนอัดเสียง 250 บาท

– แฟลชไดร์ฟ 2 อัน 500 บาท

 

การขยายผลของนวัตกรรม                มีการใช้ / ประยุกต์ใช้เฉพาะหน่วยงาน

 

สรุปผลการดำเนินการ

        1. ปัญหา/ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ กล้องถ่ายวีดิโอมีปัญหา ไมโครโฟนอัดเสียงไม่สามารถต่อกับกล้องถ่ายวิดิโอ ทำให้ต้องเปลี่ยนจากวีดิโอเป็นภาพเคลื่อนไหว
        2. กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การพัฒนาสื่อการสอนช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ข้อมูล
        3. แผนการที่จะพัฒนาต่อเนื่องต่อไป จัดทำสื่อการสอนแบบซีดีเฉพาะโรคในกลุ่มโรคสำคัญ