สมุดบันทึกผลเลือด ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

           

 

 

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม               นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation )

 

สรุปผลงานโดยย่อ

        1. เป็นสมุดคู่มือที่สะดวกในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย
        2. เป็นคู่มือสำหรับผู้ป่วยใช้เป็นแนวทางในการดูแลตนเองให้ความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนจากยาเคมีบำบัด
        3. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงระดับมากที่สุด/ มาก เนื่องจากมีข้อมูลครบถ้วน

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

        1. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบผลเลือดของตนเอง
        2. เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักในการดูแลตนเอง
        3. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้การดูแลรักษา

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม

        1. การรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ขณะเดียวกันยาก็ไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์ปกติที่มีการแบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์ไขกระดูก และเซลล์เยื่อบุต่างๆ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยที่สำคัญ คือ ภาวะกดไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือเสี่ยงต่อเลือดออกง่าย ทั้งนี้อาการจะมากหรือน้อยขึ้นกับชนิด/ ปริมาณของยาเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยได้รับ รวมทั้งการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน หรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้นการจัดทำสมุดประจำตัวเล่มนี้ขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความตระหนักรู้ถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาหรือควบคุมอาการข้างเคียง ผู้จัดทำได้ออกแบบการบันทึก ผลเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และจำนวนเม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ (ANC) เพื่อให้ทราบผลเลือดปัจจุบัน และแนวโน้มของผลเลือดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวในการรับการรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม
        2. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของยาเคมีบำบัด
        3. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

               การรักษาด้วยเคมีบำบัดจะเกิดผลลัพธ์ที่ดี เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ผู้จัดทำจึงเกิดแนวคิดที่จะทำให้ผู้ป่วยทราบถึงผลจากการรักษาการรักษา การบันทึกภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา เพื่อให้เกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง

        1. รูปแบบของกิจกรรม/กระบวนการ : ใช้เป็นสมุดบันทึกผลเลือดของผู้ป่วยโลหิตวิทยาที่ได้รับเคมีบำบัดสูตรที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน
        2. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม /การพัฒนา /ใช้นวัตกรรม : ผู้ป่วยโลหิตวิทยาที่ได้รับเคมีบำบัดสูตรที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน เมื่ออยู่ในภาวะที่ไขกระดูกถูกกด จะได้รับการแจ้งและบันทึกค่าเม็ดเลือดแต่ละชนิดในสมุดทุกครั้งหลังการเจาะเลือดส่งตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยทราบแนวโน้มผลเลือดและตระหนักในการดูแลตนเอง
        3. ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่หน่วยงานให้บริการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจนถึงปัจจุบัน

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์               ผู้ป่วย/ ผู้ดูแลมีคู่มือสื่อสารที่สะดวกต่อการใช้งาน

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

        1. การจัดทำสมุดบันทึกผลเลือดสำหรับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้/ เข้าใจ ในสภาวะปัจจุบัน และตระหนักในการดูแลตนเอง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อการรักษา
        2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้