ทรายทับแผล

 ชื่อผู้ประดิษฐ์               นายนิยม สุวรรณวงศ์ และนางสุรีย์ภรณ์ วงศ์จรินทร์

 

สถานที่ทำงาน              หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด

 

วันที่ประดิษฐ์สำเร็จใช้งานได้  1 กรกฎาคม 2548

 

หลักการและเหตุผล

                  ภายหลังการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดผ่านทางหลอดเลือดแดงฟีมอรอล แพทย์จะดึงท่อนำสายสวนออกและทำการกดแผลห้ามเลือดจนเลือดหยุดไหล หลังจากรั้นจะใช้หมอนทรายขนาด  1 กิโลกรัมทับแผลไว้ โดยการใช้แถบกาวย่นยึดไว้กับบริเวณต้นขา แฟลหน้าท้องผู้ป่วยไว้ จากการปฏิบัติด้วยวิธีนี้พบว่ามีข้อจำกัดที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดเกิดขึ้น เช่น หมอนทรายที่นำมาจากหอผู้ป่วยนั้นมีรูปทรงที่ต่างกัน มีขนาด หรือน้ำหนักที่ต่างกัน  รูปทรงที่ไม่เหมาะสมทำให้หมอนทรายเลื่อนจากบริเวณที่ทับแผลไว้ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยขยับตัว หรือเคลื่อนย้ายจากเปลไปนอนเตียง เมื่อทางหน่วยฯ ได้ทบทวนข้อมูลและได้ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมว่าควรมีการปรับปรุงรูปแบบของหมอนทราย ให้มีรูปทรงที่เหมาะสม มีการลงน้ำหนักลงบนแผลโดยตรง สะดวกในการวางบนแผลไม่เลื่อนหลุดง่าย และมีสายรัดเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุด โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบ ออกแบบและประดิษฐ์หมอนทรายเพื่อใช้ในการกดทับแผลบริเวณขาหนีบหลังการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด จึงได้หมอนทรายแบบใหม่ที่สามารถใช้งานได้สะดวก และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหลังตรวจ

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

          1. ผ้าบุหนัง
          2. สายรัดแบบตีนตะขาบ หรือตีนตุ๊กแก
          3. ทรายสะอาด น้ำหนัก 1 กิโลกรัม

ค่าใช้จ่าย 200 บาท

 

ขั้นตอนการประดิษฐ์

          1. ตัดผ้าบุหนังเป็นรูปกลมรี จำนวน 3 ผืน นำมาเย็บติดกันเป็นทั้ง สามผืน เว้นช่องไว้สำหรับบรรจุทรายสะอาด
          2. เย็บสายยึดแบบตีนตุ๊กแก
          3. บรรจุทราย น้ำหนัก 1 กิโลกรัมในหมอนทรายที่เย็บไว้

 

รูปถ่ายนวัตกรรม

ประโยชน์ที่ได้รับ

          1. ได้หมอนทรายที่มีแบบรูปทรงที่เหมาะสำหรับทับแผลบริเวณหลอดเลือดแดงฟีมอรอล
          2. ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด และประหยัดการใช้แถบกระดาษกาว

ข้อเสนอแนะ  และการรายงานผล

          1. ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลดลง
          2. ผู้ใช้หมอนทรายมีความพอใจในระดับมาก