โภชนาการสื่อสาร

 

ชื่อผู้จัดทำ               นางสาวเกศรินทร์  แก้วกันตี ผู้ช่วยพยาบาล

 

สมาชิกทีม               บุคลากรหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม 2

 

ชื่อหน่วยงาน             หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม 2

 

รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานนวัตกรรม 

จุดเริ่มต้นหรือที่มาของการจัดทำหรือคิดค้นนวัตกรรม
บริบทของหอผู้ป่วยวิกฤตอายุกรรม  2 ให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางอายุรกรรมทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลและเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด  รวมทั้งผู้ป่วยอาการหนักที่หอผู้ป่วยหนักอายุกรรม ( CCU และ ICU) ไม่สามารถรองรับได้  โดยมีจำนวนเตียงทั้งหมด 6 เตียง ผู้ป่วยอาการหนัก คือ ผู้ป่วยทุกระบบที่มีภาวะวิกฤตของชีวิต  ไม่รู้สึกตัว  ช่วยเหลือตนเองไม่ได้  เป็นผู้ป่วยระดับ 4-5 จึงต้องการการพยาบาลอย่างใกล้ชิดและให้การพยาบาลแบบองค์รวม รวมถึงให้การดูแลในเรื่องการทำกิจกรรมวัตรประจำวันทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ การพลิกตะแคงตัว และการให้สารอาหารทางสายยาง เป็นต้น ในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในการให้อาหารทางสายยางนั้นจะมีผู้ปฏิบัติงานการพยาบาลให้การพยาบาลและช่วยเหลือในการให้สารอาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย  ดังนั้นเพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างถูกต้องและชัดเจนในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม2

                        ทางหอผู้ป่วยจึงได้คิดหาวิธีการสื่อสารอย่างถูกต้องชัดเจน ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยซึ่งมีการปรับเปลี่ยนสูตรการให้อาหารทางสายยางบ่อยครั้ง      โดยคิดประดิษฐ์ป้ายสื่อสารโดยนำกระดาษแข็งมาทำป้ายและติดตัวหนังสือให้อ่านง่ายชัดเจนและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสูตรของสารอาหารตลอดเวลาตามอาการของผู้ป่วย ทำให้สะดวกในการปรับเปลี่ยนสูตรการให้สารอาหาร ลดการใช้กระดาษแบบเดิม และเพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและปรับนำไปใช้กับผู้ป่วยคนต่อไปได้

 

ประเภทของนวัตกรรม                    นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์(Production Innovation)

 

ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำนวัตกรรม   60 นาที

 

ลักษณะผลงานนวัตกรรม                           เป็นสิ่งที่พัฒนา / คิดค้นขึ้นใหม่ คือ  โภชนาการสื่อสาร

 

เป้าหมาย      ผู้ป่วยได้รับการให้สารอาหารที่ถูกต้อง

        • มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
        • ลดการใช้ทรัพยากร นำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์
        • สะดวก เจ้าหน้าที่และผู้ใช้พึงพอใจนวัตกรรม

 

หลักการและขั้นตอน รวมทั้งกรรมวิธีที่ใช้ในการพัฒนา / คิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของวัสดุ/อุปกรณ์แต่ละชนิด
                          ค้นหาวัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ประโยชน์

 

ตัวชี้วัด ผลผลิต/ผลลัพธ์

                          นวัตกรรมใช้ได้ดี ผู้ป่วยปลอดภัย ผู้ใช้พึงพอใจ

 

งบประมาณที่ใช้                     ค่ากระดาษห่อสีต่าง ๆ  60 บาท

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงานนวัตกรรม

–     ผู้ป่วยได้รับการให้สารอาหารที่ถูกต้อง

        • มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
        • ลดการใช้ทรัพยากร นำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์
        • สะดวก เจ้าหน้าที่และผู้ใช้พึงพอใจนวัตกรรม

 

 

          

 

   ระบุ      ชื่อเจ้าของผลงาน/ผู้รับผิดชอบ นางสาวเกศรินทร์  แก้วกันตี       e-mail : mangsitt@gmail.com