ป้ายออกซิเจนสื่อความหมาย

ชื่อผลงาน/โครงการ(Project name)                             ป้ายออกซิเจนสื่อความหมาย

 

ประเภทของนวัตกรรม                    นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์(Production Innovation)

 

สรุปผลงานโดยย่อ
นวัตกรรมป้ายออกซิเจนสื่อความหมายเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ โดยนําหลักการลดขั้นตอนการประดิษฐ์มาใช้  ซึ่งผลลัพธ์จากการนํานวัตกรรมมาใช้ ทําให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนถูกต้องตรงตามแผนการรักษาที่ได้รับ โดยได้นําแนวคิดจากการนําผลิตภัณฑ์เดิมมา
ปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดต้นทุนในการประดิษฐ์และเปลี่ยนรูปแบบของนวัตกรรมให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกใช้และง่ายต่อการเข้าถึงอีกทั้งนวัตกรรมดังกล่าวยังเป็นที่พึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอีกด้วย

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

            1. ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนตรงตามแผนการรักษา มากกวา่ 80%
            2.  สายออกซิเจนได้รับการเปลี่ยนตามแนวทางปฏิบัติด้านการติดเชื้อ มากกวา 90 %
            3. ผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพึงพอใจต่อนวัตกรรม มากกวา 80%

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม 
ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีสถิติการรักษาด้วยการได้รับออกซิเจนและใส่เครื่องช่วยหายใจจํานวนร้อยละ 80 ดังนั้นหอผู้ป่วยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวและได้จัดทำโครงการนวัตกรรมเกี่ี่ยวกับป้ายแสดงการได้ร้บออกซิเจนขึ้น ซึ่งเดิมหอผู้ป่วยจัดทำแผ่นป้ายแสดงจํานวนลิตรของการได้รับออกซิเจนไว้เป็นลักษณะแผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสองแผ่น ซึ่งหนึ่งแผนป้ายแสดงต่อหนึ่งตัวเลขแสดงจะนวนลิตรของการให้ออกซิเจนและอีกหนึ่งแผ่นป้ายแสดงวันที่ต้องเปลี่ยนสายออกซิเจน  ซึ่งในการปฏิบัติพบปัญหา คือ หากมีการปรับแผนการรักษาโดยเพิ่มหรือลดการให้ออกซิเจน ป้ายออกซิเจนดังกล่าวไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนที่ตรงตามแผนการรักษา ดังนั้นผู้ประดิษฐ์จึงได้ปรับปรุงแผนป้ายแขวนแสดงปริมาณออกซิเจนใหม่ โดยให้มีตัวเลขแสดงจำนวนลิตร ตั้งแต่ 1-10 ลิตร  วันเปลี่ยนสายออกซิเจนตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ ไว้ในแผ่นเดียวกัน ทำให้สะดวกในการใช้งาน รวมทั้งลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 

1. เลือกวัสดุ (แผนฟิวเจอร์บอร์ด ด้ายสม็อค สติ๊กเกอร์สีแดง เชือกคล้องป้าย) สำหรับการทำนวัตกรรมป้ายออกซิเจนสื่อความหมาย
2. นำเสนอรูปแบบแผ่่นป้ายออกซิเจนใหแก่สมาชิกทีม เพื่อร่วมชี้แนะและปรับปรุง หาข้อสรุปเกี่ยวกับตัวแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
3. ได้รูปแบบของผลิตภัณฑ์/สิ่งประดิษฐ์ตามที่กลุ่มช่วยกันชี้แนะปรับปรุง
4. นําเสนอ/เผยแพร่วิธีการใช้ภายในหอผู้ป่วย
5. ดําเนินการใช้ป้ายออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนทุกราย
6. ประเมินผลการใช้นวัตกรรมป้ายออกซิเจนสื่อความหมาย

 

ระยะเวลาดําเนินการ                      6 เดือน

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์
จากการดําเนินโครงการพบว่า ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาร้อยละ 90   ได้รับการเปลี่ยนสายออกซิเจนตามแนวทางที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 97   และผู้ปฏิบัติพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมป้ายออกซิเจนสื่อความหมายในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ95

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ 
จากการคิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวทำให้สามารถนำแนวคิดที่ได้มาใช้ในกระบวนการ Lean management โดยการ Lean Enterprise เพื่อให้เกิดเนื้อหาที่เท่าเดิมในเวลาที่สั้นลง รวมถึงการ Lean เพื่อลดต้นทุนในการเพิ่มทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้หรือเกินความจำเป็นภายในหอผู้ป่วยได้