โครงครอบศีรษะผู้ป่วย  (PACE MATE)

ชื่อผู้ประดิษฐ์               นางสุรีย์ภรณ์ วงค์จรินทร์

 

สถานที่ทำงาน             หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด

 

วันที่ประดิษฐ์สำเร็จใช้งานได้          1 พฤศจิกายน  2543

 

หลักการและเหตุผล 

               การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร ทำโดยการใส่สายสื่อเข้าหลอดเลือดดำบริเวณไหล่ และใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจฝังไว้บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า  ตลอดการทำหัตถการต้องให้ความสำคัญกับเทคนิคปราศจากเชื้อเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการติดเชื้อในกระแสโลหิต และบริเวณตำแหน่งที่ฝังเครื่อง อันอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย และมีเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น   ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการคลุมผ้าปราศจากเชื้อบริเวณใบหน้า และศีรษะของผู้ป่วยด้วยเพราะมือของแพทย์อาจมาสัมผัสบริเวณนี้ได้ แต่การทำแบบนี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก ใช้ผ้าจำนวนหลายผืน และเมื่อต้องให้ออกซิเจนผู้ป่วยระหว่างทำหัตถการทำให้เกิดปนเปื้อนผ้าปราศจากเชื้อที่คลุมไว้ ทำให้ต้องจัดเตรียมบริเวณใหม่ทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลือง  และมีอุบัติการณ์ติดเชื้อบริเวณแผล ทางหน่วยฯ จึงร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการคิดทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อใช้ในการทำหัตถการดังกล่าว นำมาใช้ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขแบบจนสามารถใช้ได้สะดวก เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ และไม่เกิดการติดเชื้อจากการทำหัตถการ 

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

        1. เหล็กแบนขนาดกว้าง  2 เซนติเมตร หนา  3 มิลลิเมตร ยาว  1  เมตร สำหรับทำฐาน
        2. เหล็กกลมขนาด  1 เซนติเมตร ยาว  50   เซนติเมตร สำหรับทำเสา
        3. เหล็กกลมหนา  4 เซนติเมตร ยาว  2 เมตร สำหรับทำโครงครอบศีรษะ
        4. สกรู กลม ขนาด  4 มิลลิเมตร ยาว  1.5 เซนติเมตร จำนวน  2 ตัว

 

ค่าใช้จ่าย          700  บาท

 

ขั้นตอนการประดิษฐ์ 

        1. ใช้เหล็กแบนประกอบทำฐานประกอบการทำโครงสำหรับครอบศีรษะ
        2. ใช้เหล็กกลมทำโครงสำหรับครอบศีรษะให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
        3. นำโครงเหล็กทั้งสองส่วนมาประกอบก่อนนำไปใช้
        4. นำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร เก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อเสนอแนะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้มีความสะดวกในการใช้ 

 

รูปถ่ายนวัตกรรม

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

        1. ได้อุปกรณ์ช่วยในการเตรียมบริเวณที่จะใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร
        2. มีความสะดวกในการให้การดูแลผู้ป่วยขณะใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร

 

ข้อเสนอแนะ  และการรายงานผล

        1. สามารถป้องกันการปนเปื้อนบริเวณปราศจากเชื้อขณะทำหัตถการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
        2. ผู้ป่วย แพทย์ และพยาบาลมีความพึงพอใจในสิ่งประดิษฐ์นี้