ผลของการใช้นวัตกรรมสายรัดต่อการเกิดก้อนเลือดใต้ผิวหนัง

ชื่อผู้จัดทำ                    นางสาวรัตติยา วงศ์สุวรรณ์, นางสาวสุธิดา รักษา 

 

สมาชิกทีม                    เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือด 1

 

ชื่อหน่วยงาน                หอผู้ป่วยหนักหัวใจแลหลอดเลือด 1 

 

รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานนวัตกรรม 

          1. จุดเริ่มต้นหรือที่มาของการจัดทำหรือคิดค้นนวัตกรรม

           แนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน คือการเปิดหลอดเลือดให้แก่กล้ามเนื้อหัวใจ(Reperfusion therapy) ตามแนวปฏิบัติของ 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation ทุรายจำเป็นต้องได้รับการตรวจสวนหัวใจภายใน 24 ชั่วโมง หัตถการนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่พบบ่อยคือ ภาวะเลือดออกภายหลังการทำหัตถการ ซึ่งส่งผลต่อระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลนานมากขึ้น

          2. ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำ            1 สัปดาห์

          3. ลักษณะผลงานนวัตกรรม              เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาใหม่

 

เป้าหมาย  

               เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะเลือดออกและภาวการณ์เกิดก้อนเลือดในชั้นใต้ผิวหนังหลังการทำหัตถการ

 

หลักการและขั้นตอน รวมทั้งกรรมวิธีที่ใช้ในการพัฒนา / คิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของวัสดุ/อุปกรณ์แต่ละชนิด
1. เลือกวัสดุ(ผ้าและแถบยางยืด)สำหรับการทำนวัตกรรมสายรัด
2. เผยแพร่วิธีการใช้ภายในหอผู้ป่วย
3. ดำเนินการใช้สายรัดในผู้ป่วยหลังทำหัตถการทุกรายที่ใช้หมอนทรายทับแผลหลังทำหัตถกร
4. ประเมินผลการใช้นวัตกรรมสายรัดหมอนทราย

 

ตัวชี้วัด ผลผลิต/ผลลัพธ์
               ผลลัพธ์การเกิด hematoma บริเวณขาหนีบหลังการทำหัตถการ ปี 2561 มีจำนวน 38 ราย จาก 400 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.36 และในปี 2562(ม.ค-ต.ค.) มี 19 ราย จาก 236 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.05

 

งบประมาณที่ใช้               จำนวนเงิน 150 บาท

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงานนวัตกรรม

               จำนวนอุบัติการณ์ Hematoma บริเวณขาหนีบหลังทำหัตถการลดลง

 

ชื่อเจ้าของผลงาน/ผู้รับผิดชอบ              นางสาวรัตติยา  วงศ์สุวรรณ์และนางสาวสุธิดา   รักษา
เบอร์โทรศัพท์  053-935856