แผ่นรองแขนผู้ป่วย (Arm Board)

ชื่อผู้ประดิษฐ์                    นางสุรีย์ภรณ์ วงค์จรินทร์

สถานที่ทำงาน                   หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด

วันที่ประดิษฐ์สำเร็จใช้งานได้ 9 มีนาคม  2542

หลักการและเหตุผล

                    การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดผ่านทางหลอดเลือดแดงเรเดียล มีข้อดีที่ไม่ต้องจำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยภายหลังจากที่ทำการตรวจเสร็จแล้ว และลดอัตราการเกิดผลข้างเคียงบริเวณหลอดเลือดที่ใส่ท่อนำสายสวน สามารถกดแผลห้ามเลือดได้ง่ายเนื่องจากหลอดเลือดอยู่ตื้น และสังเกตเห็นได้ง่ายหากเกิดเลือดออก หรืออาการบวม อย่างไรก็ตามการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดผ่านทางหลอดเลือดแดงเรเดียล ก็มีข้อจำกัดในกรณีผู้ป่วยมีหลอดเลือดขนาดเล็กอาจใส่สายสวนไม่สำเร็จ ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์สูง พยาบาลก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทกให้การทางหลอดเลือดมีความง่าย และประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการจัดท่าผู้ป่วยเพื่อให้สามารถคลำหลอด เลือดได้ชัดเจน แทงหลอดเลือดได้ง่าย โดยต้องให้ผู้ป่วยกางแขนออกประมาณ 60 องศา และต้องใช้อุปกรณ์รองใต้ข้อมือเพื่อให้บริเวณข้อมือเยียดตึง ง่ายต่อการคลำหาหลอดเลือดแดงเรเดียล ซึ่งต้องใช้แผ่นรองแขนที่สามารถขยับปรับองศาได้ และสามารถถอดออกได้เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว  ทางหน่วยฯ จึงได้ศึกษาข้อมูล หรือข้อแนะนำจากในเอกสาร งานวิจัย หรือหนังสือ และได้ช่วยกันเสนอ แบบ เพื่อนำไปจัดทำเป็นสิ่งประดิษฐ์  จากนั้นจึงมีการนำมาทดลองใช้ และปรับปรุงแก้ไขให้มีรูปแบบและขนาดที่เหมาะสมกันการใช้งาน ผู้ใช้พึงพอใจ และมีการนำมาใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้  

        1. แผ่นไม่รูปตัว  L  ขนาด 10×20  เซนติเมตร และ ส่วน  ขนาด 25×20 เซนติเมตร
        2. ไม้รองแผ่นฟองน้ำหุ้มด้วยผ้า ขนาด  6x13x6  เซนติเมตร สำหรับทำหมอนรองข้อมือ
        3. ปลอกหุ้มทำด้วยผ้ายาง

ค่าใช้จ่าย                     200 บาท

 ขั้นตอนการประดิษฐ์ 

                     ตัดแผ่นไม้ให้ได้ขนาด และรูปทรงตามที่ต้องการ จากนั้นใช้แผ่นยาง ขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยเย็บหุ้มรอบแผ่นไม้  จากนั้นทำปลอกหุ้ม เฉพาะส่วนที่วางแขนอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้สามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย 

รูปถ่ายนวัตกรรม

ประโยชน์ที่ได้รับ

        1. ได้อุปกรณ์เพื่อช่วยในการจัดท่าสำหรับการแทงหลอดเลือดแดงเรเดียลเพื่อใส่ท่อนำสายสวนหัวใจและหลอดเลือด
        2. สะดวกในการใช้งาน และลดระยะเวลาในการเตรียมผู้ป่วย

ข้อเสนอแนะ และการรายงานผล

        1. ผู้ป่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดผ่านทางหลอดเลือดแดงเรเดียล ใช้อุปกรณ์รองแขนนี้เพื่อช่วยในการจัดท่า
        2. แพทย์และพยาบาลพึงพอใจในอุปกรณ์นี้ร้อยละ  99