Legs locked แผ่นยึดตรึงขาเด็ก

 

ชื่อผู้ประดิษฐ์                    นางสุรีย์ภรณ์ วงค์จรินทร์

สถานที่ทำงาน                 หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด

วันที่ประดิษฐ์สำเร็จใช้งานได้ 9 กันยายน 2543

หลักการและเหตุผล  

                    การตรวจสวนหัวใจห้องขวา และห้องซ้ายที่ทำในผู้ป่วยเด็กเล็ก มีความยากในขั้นต้อนการแทงหลอดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดมีขนาดเล็ก และเด็กอาจงอขา ขยับตัว ขยับขา ทำให้คลำหาตำแหน่งยาก ต้องใช้เวลานานในขั้นตอนนี้ อีกทั้งเด็กบางคนดิ้นแรง อาจเสี่ยงต่อการตกเตียงเอกซเรย์ได้เนื่องจากเตียงเอกซเรย์ไม่สามารถใส่อุปกรณ์กั้นได้ นอกจากนั้นหลังตรวจผู้ป่วยเด็กจะต้องนอนไม่งอขา ข้อตะโพก ไม่ลุกนั่งเป็นเวลา  4 -6 ชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหลังตรวจอันได้แก่ ภาวะเลือดออก มีก้อนเลือดออกใต้ชั้นผิวหนัง เป็นต้น การผูกมัดด้วยผ้าผูกข้อที่มีใช้อยู่ไม่สามารถป้องกันเด็กงอขา หรือขยับขาได้ บางครั้งดิ้นมากจนขาหลุดออกจากผ้าที่ผูกยึดไว้ เนื่องจากเป็นเด็กเล็กไม่เข้าใจเหตุผล ความจำเป็นในการจำกัดการเคลื่อนไหว ทางหน่วยตรวจฯ ได้ร่วมกันหาแนวทางในการให้การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย เจ้าหน้าที่พยาบาล และแพทย์สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก โดยการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับป้องกันไม่ให้เด็กงอขา หรือข้อตะโพกข้างที่ใส่สายสวนหัวใจ ซึ่งพบว่าสะดวก และได้ผลดี ทั้งขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วยเพื่อแทงหลอดเลือด และการดูแลหลังตรวจที่ต้องจำกัดการเคลื่อนไหวต่ออีกเป็นเวลา  4- 6  ชั่วโมง

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

          1. แผ่นไม้รูปตัว Y กลับหัวลง หรือรูปกางเกงเด็ก
          2. ฟองน้ำบาง
          3. ผ้ายาง
          4. สายตีนตุ๊กแก

ค่าใช้จ่าย                    300 บาท

 

ขั้นตอนการประดิษฐ์ 

                     แผ่นไม้รูปกางเกงเด็ก ใหญ่ กลาง เล็ก ให้สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมกับขนาดตัวของเด็ก  ใช้ฟองน้ำบางรองและเย็บหุ้มด้วยผ้ายาง จากนั้นนำตีนตุ๊กแกมาเย็บติดบริเวณที่รองขาเด็กข้างละ  2 จุด ได้แก่ บริเวณเหนือเข่า และ บริเวณใต้เข่า

 

รูปถ่ายนวัตกรรม

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

          1. ได้สิ่งประดิษฐ์สำหรับใช้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการตรวจสวนหัวใจ ทั้งก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังตรวจ 
          2. ลดระยะเวลาในการแทงหลอดเลือดเพื่อใส่ท่อนำสายสวน

 

ข้อเสนอแนะ  และการรายงานผล

          1. แพทย์พยาบาล พึงพอใจ
          2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดจากการงอขา งอข้อตะโพก