รอกกะลานิตยา

ชื่อนวัตกรรม                       รอกกะลานิตยา

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม                   นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

 

สรุปผลงานโดยย่อ             

 ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย เป็นผู้สูงอายุประมาณ 60%นอนรักษาตัวนานความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวลดลง การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยให้ฟื้นฟูร่างกายได้เร็ว ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และสามารถวางแผนจำหน่ายได้เร็วขึ้น ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในการดูแล นอกจากนี้ยังต่อยอดกับผู้ป่วยที่มีภาวะตึงเตรียดจากนอนโรงพยาบาลนาน จึงใช้ออกกำลังกายเบาๆได้ และยังสามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา ได้มากขึ้น

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ 

          1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายบริหารแขนขาเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ที่มีปัญหา กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยอัมพาต และบำบัดผ่อนคลายใน ผู้ป่วยทั่วไป ช่วยแก้ไขปัญหาข้อติดได้
          2. เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับสู่สภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติโดยเร็ว

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม  และกระบวนการ ขั้นตอน

          1. ศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบงาน
          2. ประเมินความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่ใช้
          3. สื่อสารนวัตกรรมแก่บุคลากร
          4. ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติและติดตามตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

 

อุปกรณ์                      กะลามะพร้าว, เชือกไนล่อน, รอกเหล็ก, กาวร้อน, แลคเกอร์

ระยะเวลาดำเนินการ               2  เดือน

งบประมาณที่ใช้                      จำนวนเงิน   200   บาท/ ชิ้น

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม  

                ใช้กระบวนการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วยอุปกรณ์ที่ผลิตจากธรรมชาติ หาง่าย คือ กะลามะพร้าว ด้วยกระบวนการผลิตที่ง่ายไม่ซับซ้อน พัฒนาโดยใช้หลักการ PDCA จนเห็นประโยชน์จริงกับผู้ป่วยที่ทุพพลภาพ และต้องการออกกำลังกายบนเตียงง่ายๆ 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์   

               ความพึงพอใจผู้ป่วยและญาติต่อการใช้นวัตกรรมอยู่ระหว่าง 85-95% มีการต่อยอดในการผลิตเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ที่บ้านของผู้ป่วยและออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

          1. ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับสู่สภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติโดยเร็วที่สุด และกิจกรรมที่ใช้รอกกะลานี้สร้างความเพลิดเพลินในขณะรับการรักษาอยู่ในหอผู้ป่วย ส่งผลให้ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล
          2. เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม จะก่อให้เกิดการเห็นคุณค่าในงานที่ตนเองปฎิบัติและมีความภาคภูมิใจเกิดขึ้น มีความผูกพันในหน่วยงานมากขึ้น
          3. หน่วยงานได้รับคำชื่นชมในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ต่อผู้ป่วย