ที่นอนเจล

 

หอผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 

 

ชื่อผลงาน/โครงการ/นวัตกรรม :                    ที่นอนเจล

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม :         เป็นผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยู่แล้วแต่นำมาปรับปรุงใหม่หรือพัฒนาต่อยอดจาก                                                                          โครงการนวัตกรรม ที่นอนนวลนุช

 

สรุปผลงานโดยย่อ  :

                    ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย เป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง 3 โรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และโรคเลือด ผู้ป่วยในกลุ่มนี้บางคนไม่รู้สึกตัว นอนติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และจากการนอนโรงพยาบาลนานเพื่อรอการวินิจฉัยโรค ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆสูง เช่นการเกิดแผลกดทับเป็นต้น เนื่องจากการมีAlpha bed มีจำนวนไม่พียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยางหอผู้ป่วยจึงได้คิดนวตกรรมที่นอนเจลขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโดยการนำเอาเจลที่เป็นถุงมาสอดในผ้าที่ทำเป็นช่องๆ วางบนที่นอนของผู้ป่วยให้เกิดความนุ่มขึ้นมาแทนที่นอนที่แข็งราบ ทำให้สามารถลดแรงเสียดสีบนผิวหนังของผู้ป่วย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ดี ทำให้ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจในการใช้ และผู้ป่วยปลอดภัยจากแผลกดทับขณะนอนโรงพยาบาล และสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

          1. เพื่อลดอัตราการเกิดแผลกดทับ
          2. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในการบริการ

 

หลักการและแนวคิด

  การรองรับแรงกดอย่างคงที่ด้วยเทคโนโลยีระดับต่ำ(low technology constant pressure support)

 

วิธีดำเนินงาน :ระยะเวลาดำเนินงาน 3 เดือน

          1. ประชุมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่นอนนาน เกิดแผลกดทับง่าย เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
          2. ทางกลุ่มแนะนำให้หาเจลที่เป็นถุงๆ โดยติดต่อจากห้องยาที่ทางบริษัทจัดส่งมาโดยการเก็บความเย็นแล้วจะนำไปทิ้งเป็นขยะ
          3. นำผ้าดิบมาเย็บเป็นช่องๆ ประมาณ 16-20 ช่องเพื่อนำเจลสอดใส่เข้าในช่องผ้าทุกช่อง
          4. ทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
          5. ติดตามผลหลังใช้หรือหลังจากผู้ป่วยกลับบ้านโดยการประเมินพบว่าผู้ป่วยไม่เกิดแผลกดทับขึ้นขณะใช้และมีการพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงตามปกติ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ในระยะเวลา 3 เดือน
          6. ติดตามประเมินความพึงพอใจจากญาติผู้ป่วยและผู้ป่วย

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

                      การเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย และคุณภาพการดูแลที่สามารถป้องกันแผลกดทับที่อาจเกิดกับผู้ป่วยได้จากนวัตกรรมที่ทำได้ง่าย และหาง่าย นอกจากนี้ทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ และมีความไว้วางใจในการดูแลซึ่งสอดคล้องกับหลักจริยธรรมคือ การทำประโยชน์(Beneficiene)  ไม่ทำอันตรายให้ (non-Maleficence) มีการดูแลอย่างเอื้ออาทร(caring)

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์

                   ความพึงพอใจผู้ป่วยและญาติต่อการใช้นวัตกรรม เท่ากับ 95 % และมีการต่อยอดในการผลิตเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ที่บ้านของผู้ป่วยต่อได้

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

          • ผู้ป่วยได้รับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในการเกิดแผลกดทับขณะการรักษาอยู่ในหอผู้ป่วย ส่งผลให้ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล
          • มีวัฒนธรรมการดูแลที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีการเห็นคุณค่าในงานที่ตนเองปฎิบัติและมีความภาคภูมิใจเกิดขึ้น ( 2p safety)
          • หน่วยงานได้รับคำชื่นชมในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ต่อผู้ป่วย