นาฬิกาพลิกตัว

 

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม       นวัตกรรมความปลอดภัยผู้ป่วย (Patient Safety Innovation )

 

หอผู้ป่วย                                  หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม

 

สรุปผลงานโดยย่อ 

                 นวัตกรรมนาฬิกาพลิกตัวเป็นผลงานที่ มีจำนวนผู้ป่วยที่เจ็บป่วยและการเข้ามานอนรักษาตัวด้วยปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย ผู้ป่วยที่มานอนรักษา หนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยเหล่านี้คือการเกิดแผลกดทับ จากปัญหาดังกล่าวทางหอผู้ป่วยจึงได้มีการพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกดแผลกดทับขึ้นโดยอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์มาเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโดยใช้นาฬิกาพลิกตะแคงตัว มาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วย

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ : แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม

                เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย และเป็นแนวทางในการจัดท่านอนให้ผู้ป่วย ลดการจัดท่าซ้ำท่าเดิม

 

กิจกรรมการพัฒนา

          1. มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
          2. ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน แจ้งสถิติของการเกิดแผลกดทับ หาสาเหตุและแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
          3. การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วย มีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับโดยใช้แบบประเมิน Braden scale
          4. ให้การพยาบาลโดยพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
          5. ลงมือปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด
          6. ประเมินผลทุก 3 เดือน หาข้อบกพร่องเพื่อมาแก้ไข ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

 

ขั้นตอนการปฏิบัติ

          1. เจ้าหน้าที่ทุกคนมีการจัดทำการการรวบรวมข้อมูลการเกิดแผลกดทับในหน่วยงาน
          2. คิดค้นและออกแบบนวัตกรรมโดยทำนาฬิกาที่มีอยู่เดิมเป็นนาฬิกาพลิกตะแคงตัว แล้วนำไปติดไว้ในห้องผู้ป่วยทุกห้อง นำมาใช้ในการลดอัตราการเกิดแผลกดทับ
          3. ปฎิบัติตามแนวทางการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยตามนาฬิกาแขวนบอกท่าพลิกตะแคงตัว
          4. กระตุ้นให้มีการปฎิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

ระยะเวลาดำเนินการ             ปี พ.ศ. 2561 ถึงปัจจุบัน

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์

          1. อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับลดลง
          2. ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การเกิดแผลกดทับ การเกิดโรคปอดบวม เป็นต้น
          3. เป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่พยาบาลจัดท่านอนคนไข้ไม่ให้นอนท่าเดิมซ้ำ

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ 

          1. ปัญหาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการโครงการ และวิธีการจัดการกับความท้าทายเหล่านั้น
          2. ข้อแนะนำในสิ่งที่ควรปฏิบัติและเ หตุผลซึ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องนั้น
          3. สิ่งที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการ บริการ หรือส่วนอื่นใดในองค์กรได้บ้าง