การพัฒนาระบบการจัดการการใช้ยาเดิม (Medication Reconciliation)

 

ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย

 

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม :  นวัตกรรมความปลอดภัยผู้ป่วย (Patient Safety Innovation )

 

สรุปผลงานโดยย่อ  :

                    มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างทีมการรักษากับญาติและผู้ป่วย รวมทั้งการจัดเก็บยาที่เป็นระบบ สามารถลดความคลาดเคลื่อนในการให้ยาในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาเดิม (Medication Reconciliation) ได้

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ :  

          1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาได้ถูกต้อง ครบถ้วน ต่อเนื่อง ปลอดภัย
          2. เพื่อให้ทีมการรักษาพยาบาลปฏิบัติตามแนวทาง เรื่อง Medication reconciliation ได้อย่างถูกต้อง
          3. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความพึงพอใจในระบบการจัดการการใช้ยาเดิม (Medication Reconciliation)

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม  :

                 จากปัญหาและอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Medication Reconciliation พบว่าผู้ป่วยได้รับยาไม่ครบ ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากการจัดเก็บยาที่ไม่เป็นระบบ  มีการเก็บยาเดิมไว้กับผู้ป่วยและผู้ป่วยรับประทานยาเดิมเองทั้งที่แพทย์หยุดยาเดิมทำให้เกิดอาการผิดปกติจากการได้รับยาเดิมที่เกินขนาด  จึงเป็นผลทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงแก่ผู้ป่วยได้  ดังนั้นบุคลากรทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยจึงคิดค้นนวัตกรรมและปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม:

          1. ศึกษานโยบายระบบ Medication Reconciliation ของโรงพยาบาล และเผยแพร่แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางของเจ้าหน้าที่ รวบรวมปัญหาและอุปสรรคและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
          2. ติดตามปัญหาและอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้ยาเดิม นำมาร่วมกันเสนอแนวคิดในการแก้ไข ปัญหา
          3. จัดทำ flow ในการจัดระบบ Medication Reconciliationของหอผู้ป่วยให้สอดคล้องกับของทางโรงพยาบาลตั้งแต่รับใหม่จนจำหน่าย
          4. ร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่ช่วยในการจัดการระบบให้มีความชัดเจน ได้แก่

                       4.1 การสร้างตรายางเพื่อสื่อสารในทีมการพยาบาล

กรณีที่ผู้ป่วยมียาเดิมมาจากบ้านให้ทำเครื่องหมาย √ลงในช่อง Yes

                                          หากไม่มีประวัติใช้ยาเดิมให้ทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง  No

4.2 การทำแผ่นพับที่มีจุดเน้นสำคัญให้แก่ญาติและผู้ป่วย

 

4.3การจัดทำช่องเก็บยาเดิมของผู้ป่วยเฉพาะแต่ละราย 

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์:

          1. ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาได้ถูกต้อง ครบถ้วน และต่อเนื่อง: อุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Medication Reconciliation = 0
          2. ทีมการรักษาพยาบาลปฏิบัติตามแนวทาง เรื่อง Medication reconciliation ได้อย่างถูกต้อง 100 %
          3. ผู้ป่วยและญาติเกิดความพึงพอใจในระบบการจัดการการใช้ยาเดิม (Medication Reconciliation) = 90 %

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ:

          •  ได้เห็นบทบาทของพยาบาล ในการใช้ช่องว่างขององค์ความรู้ นำมาคิดและวิเคราะห์เหตุของปัญหา และการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน คือการพัฒนาระบบ Medication Reconciliation ของหอผู้ป่วยในรูปแบบทีมสหวิชาชีพเป็นความร่วมมือของทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การให้ข้อมูลที่สำคัญตั้งแต่แรกรับ และการสื่อสารที่ชัดเจนสามารถลดความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้
          •  เป็นการพัฒนาระบบงาน และการสร้างนวัตกรรมภายในหอผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย