วิดีโอสอนการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยกลืนรังสีไอโอดีน131

เจ้าของผลงาน/โครงการ/นวัตกรรม :                   หอผู้ป่วยโรคปอด

 

ประเภทผลงานนวัตกรรม :               นวัตกรรมความปลอดภัยผู้ป่วย (Patient Safety Innovation )

 

สรุปผลงานโดยย่อ

               หลังจากได้ดำเนินโครงการดูแลผู้ป่วยCA Thyroid พบว่าผู้ป่วยบางคนยังไม่เข้าใจเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องทำให้ปริมาณรังสีก่อนกลับบ้านสูง เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุหรือฟังภาษาไทยไม่ได้ ทำให้การฟังคำอธิบายอาจไม่เห็นชัดเจนการใช้สื่อวิดีโอทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพชัดเจนขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจและมีความมั่นใจขณะได้รับการรักษา เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวการทานยา Thyrosit อย่างถูกต้อง และการมาตรวจตามนัด

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ :

          1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
          2. เพื่อป้องกันอันตรายจากสารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131 สู่บุคลากรทางการพยาบาลและสิ่งแวดล้อม
          3. เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
          4. เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องทั้งขณะที่อยู่โรงพยาบาล
          5.  เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความพึงพอใจและมั่นใจในการดูแลตนเอง

 

 แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม  :

                     โรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน131 เป็นโรค Top 3 ของหอผู้ป่วยโรคปอด ไอโอดีน131เป็นสารกัมมันตรังสีที่มีอันตรายสูง ทำให้บุคลกรทางการพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วย เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากรังสี รวมถึงมีการกระจายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน หลังจากทำโครงการมีการประเมินผล พบว่าผู้ป่วยบางรายยังมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติตัวเมือนอนอยู่โรงพยาบาลโดยปัญหาคือการทิ้งขยะ การรับประทานอาหารและการทิ้งเศษอาหาร การรับประทานยา Thyrosit อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการมาตรวจตามนัด การเตรียมพร้อมตนเองในการมา Admit ครั้งต่อไป

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

          1. ชี้แจงและจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำโครงการ
          2. รวบรวมข้อมูลและปัญหาของการปฏิบัติของผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการกลืนสารรังสี ไอโอดีน 131 ที่มานอนหอผู้ป่วยโรคปอด
          3. วิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมการปฏิบัติของผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ที่ได้รับการกลืนสารรังสี ไอโอดีน 131 ที่มานอนหอผู้ป่วยโรคปอดร่วมกับคณะกรรมการโครงการ
          4. จัดทำสื่อการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบ ป้ายไวนิลและวิดีโอ

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์ :

หลังผู้ป่วยดู สื่อการสอนวิดีโอ เรื่องการปฎิบัติ ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามจากแบบทดสอบได้ > 80 %

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ :

          1. ปัญหา/ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ  การสื่อสารในผู้ป่วยที่เป็นต่างชาติ การ            เข้าใจภาษาอาจจะไม่เข้าใจ
          2. กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ก่อน D/C ได้ให้คำแนะนำผู้ป่วย แบบกลุ่มพร้อมกัน 5 คน ทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะสักถามข้อสงสัยมากขึ้น
          3. แผนการที่จะพัฒนาต่อเนื่องต่อไป ในผู้ป่วยต่างด้าว อาจใช้รูปภาพในการสื่อสาร และการ Check ผล LAB Chemistry ผู้ป่วยก่อนกลืนสารกัมมันตรังสี