การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ Febrile Neutropenia

ประเภทผลงานนวัตกรรม                   นวัตกรรมความปลอดภัยผู้ป่วย (Patient Safety Innovation )

 

สรุปผลงานโดยย่อ

                    การสร้างแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและจัดทำเครื่องมือช่วยในการปฏิบัตินั้น สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะ septic shock ในผู้ป่วย neutropenia ได้จริงตามเป้าหมายที่กำหนด

 

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ 

          1. เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะ Septic Shock ในผู้ป่วย neutropenia
          2. เพื่อกำหนดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ febrile neutropenia

 

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม

                      ในการออกแบบระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเลือดที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ไม่ว่าจะเกิดจากภาวะโรคที่เป็น หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง อันจะนำไปสู่ภาวะติดเชื้อรุนแรง เกิดภาวะ sepsis หรือ septic shock จนถึงเสียชีวิตได้จากการทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเราพบว่าที่ผ่านมาในปี 2561 มีผู้ป่วย เกิดภาวะ sepsis หรือ septic shock จำนวน 6 รายและ เสียชีวิต2ราย ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากขั้นตอนของการประเมินหรือวินิจฉัยการติดเชื้อที่ล่าช้าเนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจในเรื่องไข้ซึ่ง sign alert และ ระดับ ANC ซึ่งเป็นLab alertตัวที่สำคัญซึ่งหมายถึงค่าเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophilที่เป็นตัวต่อต้านกับเชื้อโรคที่สำคัญ นอกจากนี้ปัญหาที่พบเมื่อผู้ป่วยมีภาวะ neutropenia นี้คือการที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อบริเวณรอบๆทวารหนักจากการมีแผล หรือท้องผูก หากผู้ป่วยไม่ได้รับการป้องกันที่เหมาะสมแล้วอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงได้ ทางหอผู้ป่วยจึงได้จัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ให้เกิดความเข้าใจเพื่อที่จะได้วางแผนให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้อง และจัดทำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย ร่วมกับการทำแบบฟอร์ม ANC Record ขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารในทีมบุคลากรทางการพยาบาลได้เข้าใจ รับทราบความรุนแรงของปัญหาผู้ป่วยเพื่อกำหนดกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

กิจกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

          1. เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ อุบัติการณ์ และปัญหาในการดูแลผู้ป่วย febrile neutropenia
          2. ทบทวน Evidence base practice
          3. สร้าง Guideline และแบบฟอร์ม ANC Record เพื่อใช้สื่อสารภายในทีม ในหอผู้ป่วยและสื่อสารให้กับบุคลากรทางการพยาบาลได้รับทราบ

3.1 นิเทศติดตามให้บุคลากรทางการพยาบาลได้เฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยตาม guideline ที่กำหนด

3.2  KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในทีม เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ และปรับปรุงแบบฟอร์ม ANC Record ให้มีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

 

 

 

การประเมินผลการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/สิ่งประดิษฐ์

          1. อัตราตายจากภาวะ septic shock ในผู้ป่วย neutropenia ลดลง <10%
          2. มีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย neutropenia ที่เข้ารับการักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 ที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ง่าย โดยมีการนำเอาแบบฟอร์ม ANC Record ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขเป็น version 2 มาใช้สื่อสารให้ทีมได้รับรู้ปัญหาของผู้ป่วยและการให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับ

                   ได้บูรณาการการดูแลผู้ป่วยโรคเลือดที่มีภาวะ neutropenia อย่างเป็นระบบ ซึ่งโดยปกติแล้วระยะห่างการวัด vital sign ในผู้ป่วยทุกราย จะถูกกำหนดโดยรวมไว้ทุก 4ชม. แต่หลังจากการนิเทศทางคลินิกกับบุคลากรทุกระดับทำให้เปลี่ยนแนวคิดว่าการวัด vital sign ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างประกอบกันซึ่งพยาบาลที่เป็นหัวหน้าทีมจะเป็นผู้ที่เข้าปัญหาของผู้ป่วยที่สุด ควรเป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าผู้ป่วยรายใดควรวัด vital sign ถี่มากเท่าใด และให้มีการสื่อสารในทีมเพื่อให้เกิดความเข้าตรงกัน เพื่อทำให้เกิดผลการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธภาพมากที่สุด