Line นี้มีชื่อ

ชื่อหน่วยงาน                      หอผู้ป่วยวิกฤตอายุกรรม 1

ผู้รับผิดชอบ                   

          1. นิรมล ประมะสร
          2. วิภาวี  เขื่อนเพชร

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อความชัดเจน ในการระบุชื่อยา / สารน้ำได้อย่างรวดเร็ว
          2. เพื่อผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ

เป้าหมาย

ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมมากกว่า 80%

 

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

                  หอผู้ป่วยอายุรกรรม 1 ให้การดูแลผู้ป่วยที่เกิดภาวะวิกฤตทางอายุรกรรม ได้แก่ ภาวะหายใจล้มเหลว จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจแบบควบคุมด้วยปริมาตร  ผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic shockที่มีภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง  ผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเรื้อรัง ที่มีภาวะกรด-ด่างและสารน้ำในร่างกายไม่สมดุล  ผู้ป่วยที่ต้องการการแก้ไข ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและเฝ้าระวังติดตามอาการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยภาวะวิกฤตเรื้อรัง (Chronic Critically ill) ที่ต้องการฟื้นฟูและคงสภาพการทำงานของร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตบางราย มีการให้ยา สารน้ำ หลายชนิดเข้าด้วยกัน ผ่านสายสวนเส้นเลือดดำส่วนกลาง โดยผ่านตัวต่อสามทาง ยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน อาจเกิดการตกตะกอน ฤทธิ์ของยาบางชนิดลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบต่อผู้ป่วย ดังนั้นกระบวนการให้ยาผู้ป่วย เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ พยาบาล ระบุให้ได้ว่า สายน้ำเกลือเป็นของยาหรือสารน้ำชนิดใด เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยาต่อกันของยาบางชนิด

          ในการดูแลให้ยาแก่ผู้ป่วยวิกฤตที่มีความจำเป็นต้องให้สารน้ำ ยาหลายชนิด พบว่า พยาบาลต้องเสียเวลาในการตรวจดูสายน้ำเกลือเพื่อระบุชื้อยาแต่ละชนิด เพื่อป้องกันปฏิกิริยาต่อกันของยาบางชนิด ทางกลุ่มผู้จัดทำจึงหาวิธีการสื่อสารเพื่อระบุ ชนิดของยาและสารน้ำ ในสายให้น้ำเกลือแต่ละเส้นเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน

 

กิจกรรมการพัฒนา

          1. วิเคราะห์ถึงปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
          2. จัดทำป้ายเพื่อระบุชื่อยา สารน้ำในส่วนปลายสายใกล้ข้อต่อ 3 ทาง โดยใช้หลอดดูดน้ำ ติดด้วยชื้อยา แยกตามชนิดของยา คือ

ยากลุ่มความเสี่ยงสูง         ใช้สี แดง หรือ ชมพู

ยาทั่วไป หรือ สารน้ำ         ใช้สีขาว

     3. ประเมินผลการใช้งาน และความพึงพอใจของผู้ใช้

 

การวัดผลการเปลี่ยนแปลง

1.สายน้ำเกลือ ระบุชื่อยา สารน้ำชัดเจน

Before

 

2.มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

After

 

บทเรียนที่ได้รับ

            การนำวัสดุรอบตัวมาใช้ / ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์         และมีความเหมาะสม สามารถลดความผิดพลาดและช่วยให้เป็นระเบียบได้