ปวดประจำเดือน

สำหรับ ผู้หญิงแล้ว ส่วนใหญ่มักหนีไม่พ้นกับปัญหา ปวดประจำเดือน ผู้หญิง 3 ใน 4 ราย มักมีปัญหาเรื่องอาการก่อนมีประจำเดือน และมาพบแพทย์

และมักมาขอยาแก้ปวดประจำเดือนไปรับประทาน หรือหาซื้อยา Ponstan มารับประทานเอง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงทุกคนจะมีรอบเดือนที่แตกต่างกัน

และอาจมีอาการได้ทุกคน เช่น อาการปวดประจำเดือน


 

อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) มักพบในเด็กสาวหรือผู้หญิงที่มีอายุยังน้อย มักมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง

ในช่วงวันแรกๆ ของการมีประจำเดือน บางครั้งมีอาการปวดมากเหมือนไม่สบาย มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เต้านมคัด ตึง ปวดบริเวณบั้นเอว

บางคนถึงกับเป็นลม ซึ่งอาการปวดนี้จะหายไปเองใน 1-2 วัน เพราะสาเหตุของการปวดประจำเดือนส่วนใหญ่มาจาก

กล้ามเนื้อปากมดลูกตึงเกินไป

ในบางรายอาจพบว่า ก่อนหรือระหว่างการมีประจำเดือน อาจมีอาการของโรค ไมเกรน ปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย

อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual tension PMT) มี อาการเป็นสัญญาณเตือนก่อนประจำเดือนจะมา อาการที่พบ อาทิ บวมน้ำ

น้ำหนักตัวเพิ่ม ข้อบวม รู้สึกอยากอาหาร มีสิวขึ้น อ่อนเพลีย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ

สาเหตุ การเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงระหว่างรอบเดือน บางครั้งเกิดจาก

การขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือขาดกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) , ขาดวิตามินบี 5

ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมรอบประจำเดือน

การดูแลสุขภาพของสาวๆ วัยมีประจำเดือนตามแนวของแพทย์ทางเลือกสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

 
การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ เช่น การเล่นโยคะ สามารถลดอาการปวดท้องน้อย และอาการปวดหลังได้
 
การรับประทาน อาหารให้เพียงพอ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง สารอาหารครบ 5 หมู่ และเน้นเสริมธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามิน บี1 ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ผักและผลไม้สด
 
พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
 
การอาบน้ำร้อน หรือประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนที่บริเวณท้องน้อยจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
 
การบำบัดด้วย น้ำมันหอมระเหย (Aromatherapy) สามารถนำน้ำมันกลิ่นลาเวนเดอร์ (Lavender), เจอเรเนียม (Geranium) ครั้งละ 6-8 หยดผสมน้ำอาบเช้า-เย็น ก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์
 
การใช้น้ำมัน กลั่น คาจูพุต (Cajuput), เสจ (Sage), แดนิซีด (Aniseed), ไซเปรส ( Cypress ) และมาร์จอแรม (Marjoram) ผสมทาที่หน้าท้องวันละ 2 ครั้ง ก่อนมีประจำเดือน 10 วัน จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
 
การประคบด้วยน้ำร้อน-น้ำเย็น โดยประคบร้อน 2-3 นาที สลับด้วยการประคบเย็น 30 วินามี ทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบ จะช่วยลดอาการปวดได้เหมือนกัน

ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยในการบำบัดอาการปวดประจำเดือน ตามศาสตร์ของแพทย์ทางเลือก และเป็นวิธีที่ง่ายต่อการบำบัด

     
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine