กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในสตรี

 

   “ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน” (Overactive bladder)  คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการอยากถ่ายปัสสาวะขึ้นมาทันทีและไม่สามารถกลั้นไว้ได้ โดยอาจจะมีภาวะปัสสาวะเล็ดหลังอาการดังกล่าว รวมด้วยหรือไม่ก็ได้ และมักจะพบอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะตอนกลางคืน ร่วมด้วย ภาวะนี้อาจเรียกในชื่ออื่นได้ เช่น Overactive bladder syndrome, Urge syndrome หรือ Urgency-frequency syndrome
การจะวินิจฉัยโรคนี้ได้ ต้องตรวจไม่พบพยาธิสภาพที่ชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย ดังนั้นก่อนที่ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่อาจมีอาการและอาการแสดงคล้ายๆกันออกไปก่อน เช่น
• การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
• เนื้องอกในอุ้งเชิงกรานที่ดันกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะบ่อย
• ช่องคลอดและมดลูกหย่อน
• ช่องคลอดและท่อปัสสาวะมีการฝ่อตัว
• ปัสสาวะบ่อยจากเหตุต่างๆ เช่น ดื่มน้ำบ่อย เป็นโรคเบาหวาน รับประทานยาขับปัสสาวะ
• โรคของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะ

 

จะเห็นได้ว่าอาการอยากถ่ายปัสสาวะขึ้นมาทันทีและไม่สามารถกลั้นไว้ได้ เป็นอาการสำคัญที่ จะต้องมี ในการที่จะวินิจฉัยโรคนี้ เพราะอาการดังกล่าวเป็นอาการหลักที่จะทำให้เกิดอาการผิดปกติอย่างอื่น

เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสสาวะตอนกลางคืน และปัสสาวะเล็ด ตามมา

 

สาเหตุของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ แต่เชื่อกันว่าน่าจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
• การควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะไม่พัฒนา การขับถ่ายปัสสาวะจึงยังเป็นเหมือนของทารกหรือเด็กอ่อน ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติที่สมอง ไขสันหลังหรือที่กระเพาะปัสสาวะเอง
• การเสื่อมสภาพการควบคุมการถ่ายปัสสาวะตามอายุ  เนื่องจากโรคนี้พบมากในคนสูงอายุ
• กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานและท่อปัสสาวะมีการทำงานที่ผิดปกติ
• ตัวกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะเองมีการทำงานที่ผิดปกติ
• มีการอุดกั้นทางเดินของน้ำปัสสาวะที่บริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ
• เกิดขึ้นเองภายหลังการผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะการผ่าตัดรักษาภาวะปัสสาวะเล็ด

 

คุณจะได้รับการตรวจสืบค้นอะไรบ้าง?

 

แพทย์จะซักถามคุณเกี่ยว กับการขับถ่ายปัสสาวะ ปริมาณและชนิดของสารน้ำที่ดื่ม ตลอดจนสุขภาพทั่วไปของคุณ หลังจากนั้นคุณจะได้รับการตรวจทางนรีเวชวิทยาเพื่อค้นหาปัญหา ที่อาจเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน คุณอาจต้องจดบันทึก "ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ" ของคุณมาให้แพทย์ดู โดยจดบันทึกว่าในวันหนึ่งๆ คุณดื่ม (น้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ) ในปริมาณเท่าไร ถ่ายปัสสาวะกี่ครั้ง และปริมาณน้ำปัสสาวะที่ถ่ายออกมาแต่ละครั้ง หากมีปัสสาวะเล็ดราดให้บันทึกปริมาณปัสสาวะที่เล็ดออกมาและกิจกรรมขณะนั้นด้วย ซึ่ง จะเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ว่าคุณดื่มเข้าไปเป็นปริมาณเท่าไร และปริมาณน้ำปัสสาวะที่กระเพาะปัสสาวะของคุณสามารถกลั้นอยู่ได้เป็นเท่าไร โปรดสอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอตัวอย่างแบบบันทึก "ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ

นอกจากนี้ คุณอาจได้รับการตรวจสืบค้นดังต่อไปนี้

 

  • การตรวจปัสสาวะ เป็นการเก็บตัวอย่างน้ำปัสสาวะเพื่อตรวจการติดเชื้อหรือเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจวัดปัสสาวะตก ค้างหลังถ่ายปัสสาวะ เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสแกน หรือใช้ท่อเล็กๆสวนปัสสาวะภายหลังถ่ายปัสสาวะ เพื่อหาปริมาณน้ำปัสสาวะที่ตกค้างเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • การตรวจยูโรพลศาสตร์หรือยูโรไดนามิกส์ (urodynamics) ใช้ เพื่อตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีการเติมน้ำเข้าไปใน กระเพาะปัสสาวะ การตรวจนี้จะบอกว่ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวอย่างไม่เหมาะสมเกิด ขึ้นหรือไม่ ถ้ามีการบีบตัวเกิดขึ้น เรียกว่า กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (detrusor overactivity) นอกจากนี้ ยังใช้ตรวจว่ามีภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง และมีการขับถ่ายปัสสาวะได้หมดหรือมีปัสสาวะตกค้างหรือไม่

 

 

การรักษาผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้มีอะไรบ้าง?

 

การรักษากลุ่มอาการ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินมีหลายวิธีต่างๆกัน ควรเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนลีลาชีวิตของคุณก่อน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

 

การดื่มเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา โคล่า จะทำให้อาการต่างๆแย่ลง ฉะนั้น การลดเครื่องดื่มเหล่านี้ลงอาจช่วยได้ เครื่องดื่มที่มีฟองซ่าอย่างโซดา น้ำผลไม้ และแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดกลุ่มอาการนี้เช่นกัน คุณควรพิจารณาจาก "ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ" ว่าเครื่องดื่มใดบ้างที่ทำให้อาการของคุณแย่ลง แล้วลองเปลี่ยนไปดื่มน้ำ ชาสมุนไพร และเครื่องดื่มที่สกัดคาเฟอีนออกไปแล้วแทน คุณควรดื่มน้ำประมาณวันละ 1.5 ถึง 2 ลิตร หรือ ประมาณครึ่งแกลลอน

 

การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ

 

คุณอาจสังเกตว่าตนเองมี นิสัยชอบไปห้องน้ำบ่อยๆ เพื่อถ่ายปัสสาวะ คุณจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปยังสถานที่ซึ่งไม่มีห้องน้ำหรืออยู่ไกลจากห้อง น้ำ พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้อาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินแย่ลงไปอีก เพราะว่ากระเพาะปัสสาวะของคุณจะยิ่งไม่ทนต่อน้ำปัสสาวะในปริมาณที่น้อยลง เรื่อยๆ การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้คุณกลั้น ปัสสาวะนานขึ้น โดยฝึกให้กระเพาะปัสสาวะทนได้กับน้ำปัสสาวะในปริมาณที่มากขึ้น ช่วยให้คุณไปเข้าห้องน้ำด้วยความถี่น้อยลง การฝึกฝนนี้ทำได้โดยให้คุณค่อยๆ ยืด ระยะระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งให้นานออกไป เมื่อมีอาการปวดปัสสาวะรีบและอยากขับถ่ายปัสสาวะ ให้คุณพยายามที่จะกลั้นปัสสาวะให้ได้นานขึ้นอีกเล็กน้อยก่อนที่จะไปห้องน้ำ เพื่อถ่ายปัสสาวะ แพทย์และนักกายภาพบำบัดจะให้ข้อมูลแก่คุณเกี่ยวกับการฝึกนี้ (กรุณาอ่านบทความเรื่อง "การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม)

 การตรวจด้วยยูโรพลศาสตร์
        การตรวจด้วยยูโรพลศาสตร์เป็นการตรวจการทำ งานของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะโดยการใช้เครื่องมือในการตรวจวัดหลาย อย่างเช่น การตรวจปริมาณปัสสาวะที่ถ่ายออกมา การตรวจความเร็วของการถ่ายปัสสาวะ การตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน การตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งการตรวจสอบการทำงานของท่อปัสสาวะ
การตรวจด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ยุ่งยาก ต้องมีการใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย ใช้เวลาในการตรวจ และใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแปลผล นอกจากนี้สถาบันที่ให้บริการเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ยังมีเพียงจำกัด จึงควรสงวนวิธีการนี้ไว้ตรวจเฉพาะในรายที่จำเป็นเท่านั้น

การรักษาด้วยยา

 

ยาที่ใช้ในการรักษามี หลายชนิดที่ช่วยบรรเทากลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน แม้ว่าแพทย์จะสั่งจ่ายยาเหล่านี้แก่คุณ แต่การควบคุมการดื่มและฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของคุณยังเป็นสิ่งที่ สำคัญและจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ยาช่วยให้คุณกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ลดความถี่ของการเข้าห้องน้ำลง (ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน) และลดอาการปัสสาวะเล็ดราด แต่ยาอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ทำให้ปากคอแห้งในผู้ป่วยบางคน บางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องลองยาหลายๆชนิดก่อนเพื่อหาว่ายาชนิดใดเหมาะกับคุณ ภาวะท้องผูกเป็นอีกปัญหาที่พบได้จากการใช้ยา แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและใช้ยาระบาย หลัง รับประทานยาไปได้สองสามเดือน อาการของคุณอาจดีขึ้น จนบางครั้งสามารถหยุดยาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายรายยังจำเป็นต้องรับประทานยาต่อไปในระยะยาว เพื่อควบคุมอาการต่างๆ

 

» การเปลี่ยนพฤติกรรม

การเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวบางอย่าง อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น หรือในบางรายอาจหายไปได้เลย เช่น
• ลดปริมาณการดื่มน้ำ โดยเฉพาะการดื่มน้ำก่อนเข้านอนจะได้ไม่ต้องตื่นมาถ่ายปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน 
• จัดสถานที่อาศัยและที่นอนให้สามารถเข้าห้องน้ำได้ง่ายและสะดวก
• ในกรณีที่รับประทายยาขับปัสสาวะเพื่อรักษาโรคอื่นอยูก็ควรเปลี่ยนช่วงเวลารับประทานยาจากช่วงเช้าเป็นช่วงบ่ายแทน

 การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel exercise)

        การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยวิธี การ จะทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน  และกล้ามเนื้อหูรูดส่วนนอกของท่อปัสสาวะมีการหนาตัวและแข็งแรงมากขึ้น พบว่าสามารนำมาใช้ในการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารดังกล่าวจะเพิ่มแรงต้านในท่อปัสสาวะให้สูงขึ้นทำ ให้ปัสสาวะไม่เล็ดราดออกมาเมื่อกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้ยังพบว่าการที่กล้ามเนื้อของท่อปัสสาวะมีการบีบตัวจะมี reflex ไปยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

        ในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบริหารกล้ามเนื้อ อุ้งเชิงกรานได้ หรือทำได้แต่ไม่ดีพอ การใช้กระแสไฟฟ้าขนาดต่ำไปกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยตรงพบว่าสามารถ ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวมีความแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการให้ผู้ป่วย บริหารอุ้งเชิงกรานด้วยตัวเอง นอกจากนี้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ายังมีผลโดยตรงให้กระเพาะปัสสาวะมีการคลายตัว ได้ด้วย

อ้างอิงจาก :http://www.astellas.co.th/oab.php

รศ.นพ.วิทยา  ถิฐาพันธ์
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

http://sriphat.med.cmu.ac.th/thai/knowledge-46  (ผศ. นพ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร)

บทความยอดนิยม

ประกาศและข่าวล่าสุด

Contact Us

  •    งานการพยาบาลผู้ป่วยสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  •    โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  •    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  •    โทร : 053-945827