งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น, Powered by Joomla!
ลักษณะงาน PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย เลิศฤทธิ์ วุฒิตันติพงศ์ [งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น]   
วันพุธที่ 23 มีนาคม 2011 เวลา 12:54 น.

งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น
ฝ่ายการพยาบาล  โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ปรัชญา

         มีความเชื่อและให้คุณค่าต่อ

        การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาผ่าตัด  อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง  โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย

        การพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง

        ส่งเสริมการศึกษาและวิจัย

        มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

นโยบายของงาน

         งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น  มีเป้าหมายให้การบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทุกระบบของร่างกาย  การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษและให้การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดระยะแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ปลอดภัย  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน  โดยใช้ทักษะเฉพาะทางและยึดหลักการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม  การบริหารแบบมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งส่งเสริม  สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับได้มีการพัฒนาความรู้  ความสามารถในการปฏิบัติงานให้ทันกับวิทยาการ  ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งให้ความร่วมมือในด้านการศึกษา วิจัย  เพื่อให้สอดคล้องกันนโยบายของฝ่ายการพยาบาล

นโยบายด้านบริการ

         ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม

         ปฏิบัติการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร

         ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ทักษะเฉพาะทาง

         ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้เวลาอย่างเหมาะสมและคำนึงถึงการให้บริการที่คุ้มทุน

 

นโยบายด้านการบริหาร

         บริหารงานแบบมีส่วนร่วม

         ปรับระบบการบริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์

         ให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         บริหารงานพยาบาลโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด

         มีการประเมินบุคลากรและผลการปฏิบัติงาน

         เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ

         อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

นโยบายด้านการพัฒนาบุคลากร

         พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้  ทักษะ  ความชำนาญอย่างต่อเนื่อง

         สนับสนุนและให้ความร่วมมือในด้านพัฒนาวิชาการแก่องค์กรอื่นๆ

         จัดให้มีการบริหารงบประมาณด้านพัฒนาบุคลากร

โครงสร้างและลักษณะงาน

         การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น  เป็นหน่วยงานหนึ่งของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         ให้บริการผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดทุกระบบของร่างกายและตรวจเพื่อการวินิจฉัย

         ประกอบด้วย หน่วยผ่าตัด 6 หน่วย  หน่วยเครื่องมือผ่าตัด 1 หน่วย     หอผู้ป่วยพักฟื้น 1 หอผู้ป่วย

    หน่วยรับ-ส่ง 1 หน่วย

         มีจำนวนห้องผ่าตัด 24 ห้อง ห้องผ่าตัดและตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ  1ห้อง ศูนย์สลายนิ่ว 1 ห้อง

         มีจำนวนผู้ป่วยผ่าตัดโดยเฉลี่ย 67 คน/วัน  จำนวนผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เข้ามาอยู่ในหอผู้ป่วยพักฟื้นจำนวนทั้งหมดเฉลี่ย  50 คน/วัน

         จำนวนเตียงผ่าตัด 24 เตียง จำนวนเตียงในหอผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด 22 เตียง

         จำนวนสถิติผ่าตัดประมาณเดือนละ 1500 ราย

         ชนิดการผ่าตัด (เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย  ดังนี้)

         ผ่าตัดศัลยกรรม                   

         ผ่าตัดจักษุ                             

         ผ่าตัดกระดูก  กล้ามเนื้อเอ็น และข้อ              

         ผ่าตัดโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์  

การบริหารงานและบุคลากร

v         จำนวนบุคลากรทางการพยาบาล 210 คน

       ( RN=117, PN=60, HP=33)

v         การขึ้นปฏิบัติงาน

v         เวรเช้า : 7.30 - 15.30 น., 08.00 - 16.00 น.

v         Stand by : 16.00 -18.00 น.

v         เวรบ่าย : 15.30 - 23.00 น. , 16.00-24.00 น.

v         เวรดึก : 23.30-07.30 น. , 24.00 - 8.00 น.

v         OT  ชั่วโมงละ 100 บาท

v         อัตรากำลัง

v         เวรเช้าเวลาราชการ  ห้องผ่าตัด 3 คน/ห้อง (GN + PN)

v         เวรเช้านอกเวลา / นักขัตฤกษ์

v         พยาบาล  7  คน  (OT 2-3 คน)

v         ผู้ช่วยพยาบาล 1 คน

v         พนักงานช่วยการพยาบาล  2  คน

v         พนักงานช่วยการพยาบาล (Supply)   2  คน

v         เวรบ่าย

v         พยาบาล  7  คน

v         ผู้ช่วยพยาบาล 1 คน 

v         พนักงานช่วยการพยาบาล 1  คน 

v         หลัง 23.30 น. ถ้ายังมี case ผ่าตัดอยู่มากกว่า 2 ห้อง Sup สามารถขอพยาบาลอยู่ต่อเวรได้ในอัตรา OT

v         เวรดึก

v         พยาบาล  7  คน

v         ผู้ช่วยพยาบาล 1 คน

v         พนักงานช่วยการพยาบาล  1 คน

 

v         ลักษณะการปฏิบัติงาน Fix และ Turn

Ø      Fix

A       ผู้ตรวจการ

A        หัวหน้าหน่วย / หัวหน้าหอผู้ป่วย

A       Incharge ห้อง

A       ผู้ช่วยพยาบาล

Ø      Turn

A        เจ้าหน้าที่ใหม่หมุนเวียนทุกหน่วยผ่าตัดก่อน  หลังจากนั้นจึงจัดเข้า  ประจำหน่วย  จะเริ่มอยู่เวร  หลังผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน

A        เจ้าหน้าที่เก่า หมุนเวียนกันเฉพาะในหน่วยผ่าตัด  หรือแล้วแต่ต้องการฝึกทักษะ

ค่าตอบแทน

v         เวรบ่าย - ดึก

A        พยาบาล เวรบ่าย200 บาท  เวรดึก 240 บาท

A       ผู้ช่วยพยาบาล  เวรบ่าย 160 บาท  เวรดึก 200 บาท

A       พนักงานช่วยฯเวรบ่าย 120 บาท  เวรดึก 150 บาท

 

v         OT

A       พยาบาล : เวรเช้า 600  บาท เวรบ่าย 650 บาท  เวรดึก 700 บาท

A       ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล : เวรเช้า 450 บาท เวรบ่าย 500 บาท  เวรดึก 550 บาท

A       พนักงานช่วยการพยาบาล :   เวรเช้า 400 บาท   เวรบ่าย 450 บาท  เวรดึก 500 บาท

คณะกรรมการต่างๆ

  1. คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร
  2. คณะกรรมการประกันคุณภาพ
  3. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
  4. คณะกรรมการวิจัยและพยาบาลชำนาญการ
  5. คณะกรรมการจัดการความรู้

5.       คณะกรรมการพิเศษ / สวัสดิการ

6.       คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

7.      กรรมการสารสนเทศ

การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

1. การปฐมนิเทศ

v          ปฐมนิเทศพยาบาลใหม่ 100 %

v         ฝึกปฏิบัติงานระบบพี่เลี้ยง

2. โครงการศึกษาต่อระดับปริญญา

3. การศึกษาอบรม ดูงานต่างประเทศ

4. มีกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ บรรยาย  อบรม

5. มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี  ปีละ 1 ครั้ง

6. โครงการสนับสนุนส่งเสริมวิจัย/วิเคราะห์งาน และเผยแพร่

การบริหารสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก

v         มีการแบ่งพื้นที่ (Zoning) เป็น เขตปลอดเชื้อ เขตกึ่งปลอดเชื้อ
เขตสะอาด  เขตสกปรก

v         มีการจัดระบบสัญจรเป็นแบบทางเดียว (One way system)

v         ปฏิบัติตามหลักการของระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

v         มีระบบความปลอดภัยให้ผู้ป่วย  โดยจัดบริเวณที่ผู้ป่วยพักรอก่อน-หลังผ่าตัด

v         มีระบบสัญญาณอันตรายเตือน เมื่อเกิดไฟไหม้  ก๊าซหมด ฯลฯ

v         มีระบบไฟฟ้าสำรองทำงานอัตโนมัติทันทีเมื่อระบบปกติไม่ทำงาน

v         มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ เช่น ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า  ห้องประชุม  ห้องพักเวร  ห้องรับประทานอาหาร ห้องน้ำ ฯ

v         มีบริการที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ  เช่น มีบริการติดต่อ-สอบถาม ประชาสัมพันธ์  และบริการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ  มีบริเวณที่พักคอยสำหรับญาติ

v         การจัดหอผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด (PACU)  มีความพร้อมในการช่วยชีวิตฉุกเฉิน  บุคลากรทุกคนได้รับการฝึก CPR = 100%  , มีล้อฉุกเฉินพร้อมใช้งาน

การบริหารจัดการอุปกรณ์ เครื่องมือและเวชภัณฑ์

v         มีการประเมินความต้องการการใช้วัสดุครุภัณฑ์ ร่วมกับแพทย์ ,
ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน

v         เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มีแนวทางปฏิบัติในการใช้งาน

v         หัวหน้าหน่วย/ผู้ตรวจการ เบิกผ่านหัวหน้างาน

v         อุปกรณ์มีเพียงพอและพร้อมใช้งาน

v         มีการตรวจสอบความพร้อมใช้ทุกเวร

v         มีระบบบำรุงรักษาเครื่องมือ มีคู่มือการใช้

v         มีการจัดอบรม / ฝึกทักษะ ในการบำรุงรักษาเครื่องมือ

v         มีการตรวจเช็คครุภัณฑ์ประจำปี

v         มีระบบสำรองเครื่องมือ  อุปกรณ์ต่างๆ และจัดทำบัญชีคุม

v         มีวิธีจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือและเวชภัณฑ์ โดยใช้หลัก First in - First Out

v         เครื่องมือผ่าตัดส่งไปล้างที่หน่วยเครื่องมือ ยกเว้นเครื่องมือพิเศษ Scrub  nurse ต้องล้างเอง

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ

v         คณะกรรมการห้องผ่าตัด : คณบดี ผู้อำนวยการ , หัวหน้าภาควิชาฯ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล  และหัวหน้างานฯ

v         มีกรรมการต่างๆ โดยรับนโยบายจากฝ่ายฯมาดำเนินการ

v         วิเคราะห์กระบวนการหลัก

v         SWOT Analysis

v         PCT กับ Surg , Ortho , Eye , ENT

v         CFT กับธนาคารเลือด หน่วยซ่อมบำรุง  ภาควิชาพยาธิ เภสัชกรรม ซักฟอก ฯลฯ

v         มีการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากร

v         สำรวจความพึงพอใจต่อบริการ

v         วิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าซ้ำ

v         Guideline 45 เรื่อง / การตรวจสอบการปฏิบัติ

v         มีการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงาน

v         ปรับปรุงแบบบันทึกทางการพยาบาลให้ครบถ้วน

v         มี Pre-Post conference ในหน่วยงาน / แพทย์ผ่าตัด

v         มี M.M conference กับภาควิชาศัลยศาสตร์ทุกเดือน

v         ทุกหน่วยมีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ มีการประกันคุณภาพตัวชี้วัดตามแผนฯ

v         มีการบริหารความเสี่ยง รายงานอุบัติการณ์ ทบทวนอุบัติการณ์

v         มีการทำกิจกรรม CQI ทุกหน่วย/ หอผู้ป่วย

ระบบสารสนเทศ

v         ใช้ระบบ SMI , WIS ในการลงข้อมูลการปฏิบัติการพยาบาลและบริหารหอผู้ป่วย

v         ใช้ระบบ IT ในการเก็บบันทึกข้อมูลผ่าตัด

v         เก็บข้อมูลด้านบริหาร  พัฒนาบุคลากร  ควบคุมพัสดุ ครุภัณฑ์ และบันทึกข้อมูลต่างๆ

v         มีการสังเคราะห์ข้อมูล  เพื่อประโยชน์ในการบริหาร การจัดการผู้ป่วย   การพัฒนาคุณภาพ  และรายงานต่อหน่วยงาน/ ผู้เกี่ยวข้อง

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 มิถุนายน 2013 เวลา 08:31 น.