เครื่องมือวัดข้อไหล่ “วัชรินทร์”

ผลของนวัตกรรม เครื่องมือวัดข้อไหล่ “วัชรินทร์” ต่อการเฝ้าระวังข้อไหล่ติดหลังผ่าตัดเต้า

นมที่มีการเลาะทางเดินน้ำเหลืองบริเวณรักแร้

หลักการและเหตุผล

หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการผ่าตัดเลาะทางเดินน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ปี 2559-2660 จำนวน 42,46 รายตามลำดับ ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดข้อไหล่ติด  1-67 % (ธิติมา กนกปราบ และคณะ, 2014) ถ้าไม่ได้รับการบริหารข้อไหล่อย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ การวัดข้อไหล่มีความจำเป็นในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ทั้งในระยะก่อน และหลังผ่าตัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการฟื้นฟูสภาพข้อไหล่หลังผ่าตัด (Watkins, 2001)  ข้อไหล่จะกลับสู่สภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ หลังการบริหารอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอเมื่อการผ่าตัดครบ 3 เดือนขึ้นไป (Box et al., 2002; Guttmann et al., 1990; Jansen et al., 1990)  หลังผ่าตัด 2-12 สัปดาห์ผู้ป่วยควร งอข้อไหล่ (Flexion) และกางข้อไหล่ (Abduction) ได้อย่างน้อย 145 องศา (Harris et al, 2000) การวัดข้อไหล่จึงมีความจำเป็นที่จะช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะเกิดข้อไหล่ติด และแก้ปัญหาที่พบอย่างทันท่วงที เพื่อให้ง่ายต่อการวัดข้อไหล่ และเป็นมาตรฐานเดียวกันจึง มีนวัตกรรม เครื่องมือวัดข้อไหล่ “วัชรินทร์” ขึ้นเพื่อวัดการหมุนของข้อไหล่ปกติของมนุษย์ที่สำคัญ 2 ท่าหลักคือท่างอข้อไหล่ และกางข้อไหล่ โดยแบ่งการวัดเป็น 4 ระยะคือ ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด 3 วัน เมื่อจำหน่าย และ 2 สัปดาห์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเลาะทางเดินน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ได้รับการติดตาม เฝ้าระวังภาวะข้อไหล่ติด
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเลาะทางเดินน้ำเหลืองปลอดภัยจากภาวะข้อไล่ติด
  3. เพื่อให้ผู้ป่วย และบุคลากรสะดวกในการวัดข้อไหล่

กิจกรรมพัฒนา

  1. พัฒนาเครื่องมือวัดองศาข้อไหล่โดยอ้างอิงการหมุนข้อไหล่ปกติ และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เหมาะสมในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมที่มีการเลาะทางเดินน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
  2. จัดทำเครื่องมือ และนิเทศการใช้ วิธีการวัดให้บุคลากร เพื่อให้การวัดที่ถูกต้อง
  3. ติดตามวัดข้อไหล่ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด 3 วัน ,ในวันที่จำหน่าย รวมทั้งวัน Fu 2 สัปดาห์หลังจำหน่าย

ผลลัพธ์

มีผลลัพธ์การดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ.2559- 2561คือ

  1. ผู้ป่วย 126     ราย ใช้นวัตกรรมวัดข้อไหล่ “วัชรินทร์” ก่อน และหลังผ่าตัดเพื่อคัดกรองปัญหาข้อไหล่ติด คิดเป็นร้อยละ100
  2. พบผู้ป่วย 9 ราย มีความเสี่ยงจะเกิดข้อไหล่ติด และได้รับคำแนะนำการแก้ปัญหาข้อไหล่ คิดเป็นร้อยละ  14
  3. ผู้ป่วยทั้ง 9 ราย เมื่อติดตามหลังผ่าตัดครบ 3 เดือนไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ติด

บทเรียนที่ได้รับ

            การพัฒนาเครื่องมือที่ง่ายต่อการปฏิบัติงาน สามารถติดตาม คัดกรอง ป้องกัน และลดความเสี่ยงผู้ป่วยได้ ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีสุดต่อผู้ป่วย