เลเซอร์ช่วยปรับระดับ

ชื่อผู้ประดิษฐ์ นางดาเรศน์ ปรียวชิรญาณ 

ที่ปรึกษานางสาวศิริพร ใจวัง หัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท

ผู้ป่วยโรค Hydrocephalus หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันในกะโหลกศีรษะสูง หรือผู้ป่วยที่ อยู่ในระยะวิกฤตที่ต้องการการติดตามความดันในกะโหลกศีรษะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเข้ามารับการ รักษาที่ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ แพทย์มักมีแผนการ รักษาด้วยการผ่าตัด Ventriculotomy เพื่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (CSF) ที่มากเกิน และรักษาระดับความดันในกะโหลกศีรษะให้อยู่ในระดับปกติ บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย ต้องปรับระดับภาชนะรองรับ CSF ด้วยการประยุกต์นวัตกรรมเลเซอร์ช่วยปรับระดับขวดรองรับ CSF ที่ประดิษฐ์โดย นายเกียรติศักดิ์ ขันทราษฎร์และนางสาวศิริพร ใจวัง เมื่อปี พ.ศ. 2543 มาใช้ เฉพาะเลเซอร์และระดับน้ำยึดติดกัน แล้วนำมาเล็งจุดศูนย์ คือ บริเวณรูหู แล้วปรับกระเปาะรองรับ CSF ตามความสูงของจุดหยดที่แพทย์         กำหนดด้วยระดับที่กระดานของ set EVD (External Ventricular Drain) เนื่องจากเดิมที่รองรับ CSF เป็นขวดวางบนสาแหรก แต่ต้องปรับเปลี่ยนที่ รองรับมาเป็น set EVD ของบริษัทเครื่องมือแพทย์ พบว่า ไม่สะดวกใช้ เพราะ ไม่มีที่วางเลเซอร์ ตามภาพที่ 1 ; ผู้ประดิษฐ์จึงประดิษฐ์นวัตกรรมรุ่นที่มีการยึดเลเซอร์และระดับน้ำติดกับกระดานของ set EVD ตามภาพที่ 2 ใน เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561

วัสดุอุปกรณ์ ดังนี้

1. ไม้บรรทัดเหล็ก

2. เลเซอร์พอยเตอร์

3. น๊อตตัวผู้ + น๊อตตัวเมีย

4. ท่อ pvc

5. ฝาพลาสติก

6. ลูกน้ำ

7. ก้ามปู

8. กาวร้อน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใส่ Ventriculostomy drain และใส่คาสาย monitor ปลอดภัย

2. เพื่อให้การทำงานสะดวก มีคุณภาพและผู้ใช้พึงพอใจ

ระยะเวลาที่ใช้ในการประดิษฐ์ ทดลองใช้และปรับปรุง ประมาณชิ้นละ 1 เดือน จากการทดลองใช้เลเซอร์ร่วมกับไม้ระดับน้ำของช่างไม้ พบว่า มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมประสาทยอมรับได้ เมื่อให้ผู้ปฏิบัติงานลองใช้ ประเมินว่า พึงพอใจมากและสะดวกใช้ ร้อยละ 90 ของผู้ทดลองใช้ ทั้งหมด การนำมาใช้ ขณะนี้มีการใช้นวัตกรรมเลเซอร์เล็งจุดศูนย์ของ set EVD กับผู้ป่วยเฉลี่ย สัปดาห์ละ 2 ราย ส่วนนวัตกรรมเลเซอร์เล็งจุดศูนย์ของ ICP monitor, CVP, และ Arterial Blood Pressure กับผู้ป่วยเฉลี่ยเดือนละ 1 ราย และกำลังขยายผลไปใช้ในหอผู้ป่วยวิกฤตอื่นในงานการ พยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์

 

การเผยแพร่ นำเสนอโปสเตอร์ร่วมกับทีมพยาบาลในชื่อเรื่อง : “นวัตกรรมเลเซอร์ ความง่าย…ที่ได้ คุณภาพและยั่งยืน………….” ในการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ: Change & Collaboration for Sustainability วันที่ 16-17 มกราคม 2562 ได้รับรางวัลผลงาน Top Twenty Poster Award