ICD ติดล้อ

การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยใส่ท่อระบายทรวงอก โดยใช้นวัตกรรม “ ICD ติดล้อ”

ผู้จัดทำ อำภา  ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา :

ผู้ป่วยที่ผ่าตัดทรวงอก (Thoracotomy ) ภายหลังผ่าตัดต้องใส่ท่อระบายทรวงอก ( Inter Costal  Drainage : ICD )   และต้องบริหารร่างกายเพื่อให้ฟื้นตัวโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน จึงจำเป็นต้องมี “ICD ติดล้อ” เพื่อใส่ขวด ICD ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันขวดตกแตก หรือสาย ICD เลื่อนหลุด จนเป็นเหตุให้เกิดลมในช่องเยื่อหุ้มปอดได้

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทรวงอกในการเคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกาย ทำให้ฟื้นฟูสภาพได้ในเวลาที่เร็วขึ้น ลดอัตราการครองเตียง
  2. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ เช่น สายระบายทรวงอกเลื่อนหลุดหรือขวด ICD ตกแตก

วิธีการพัฒนานวัตกรรม :

จากปัญหาการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดที่ว่าจะหาสิ่งใดมาเป็น เครื่องมือประคองการทรงตัวขณะเดินออกกำลังโดยผู้ป่วยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนสะดวกต่อการเคลื่อนไหว จึงดำเนินกิจกรรมดังนี้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกันในทีม พัฒนารูปแบบ การดูแล คิดค้นนวัตกรรม
  2. ออกแบบนวัตกรรม “ICD ติดล้อ” ขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 10 กันยายน 2556
  3. มีการประชุมนำเสนอวิธีการใช้งานนวัตกรรม “ICD ติดล้อ” ให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาล
  4. ทดสอบการใช้งานจริงกับผู้ป่วย ที่มีท่อระบายทรวงอก จำนวน 20 ราย

ผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้ :

จากการนำไปใช้ในผู้ป่วยที่มีท่อระบายทรวงอกจำนวน  20 ราย ประเมินผลโดยการสอบถาม พบว่า ความสะดวกในการใช้งาน =  ร้อยละ 95 ,อัตราการเกิดท่อระบายเลื่อนหลุด = 0 , อัตราการเกิดขวด ICD  ตกแตก = 0 , อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วย = ร้อยละ 95  ,  อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาล และทีมแพทย์ผู้รักษา = ร้อยละ 100

สรุปผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้ :

– ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ  ไม่เกิดอุบัติการณ์ขวด ICD ตกแตก และไม่เกิดอุบัติการณ์สายระบายทรวงอกเลื่อนหลุด

– ผู้ป่วยมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย ในขณะเข้ารับการรักษา สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในผู้ให้บริการ

– สามารถขยายผลของนวัตกรรม “ICD ติดล้อ” ไปในแต่ละหอผู้ป่วยได้

คำสำคัญ :  ICD ติดล้อ

การติดต่อ  :  อำภา  ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา   เบอร์โทรศัพท์  0-5394-5993   Email : Ampha.p@cmu.ac.th