Road Show
Omics Center for Health Science

ในช่วงปลายปี 2562 ถึงกลางปี 2563 รศ.ดร.นพ.ดำเนินสันต์ พฤกษากร ประธานกรรมการดำเนินการศูนย์โอมิกส์ฯ  ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ การเตรียมความพร้อม และทิศทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก  เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยทั้งภายในคณะแพทยศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ และคณะอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

Roadshow Omics_200326_0010 (1)

โดยศูนย์โอมิกส์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Omics Center for health Sciences: OCHS) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อสร้างแบบแผนการทํางาน พัฒนาบุคลากร และสร้างงานวิจัยเชิงบูรณาการในเชิง omics เทคโนโลยีระหว่างงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานและงานบริการคลินิก ดังนั้นการเข้าถึง omics เทคโนโลยีอย่างทั่วถึงจะส่งผลให้นักวิจัยสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่นําไปสู่อุบัติการณ์ของโรคมะเร็ง สามารถหาสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคเมตาบอลิก และศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเกิดของโรคประจําถิ่น โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางโรค รวมไปจนถึงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อหลายชนิด ประกอบการพัฒนาด้านชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) และ Data Analysis ยิ่งเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลอันจะเปลี่ยนโฉมหน้าการวิจัย และการให้บริการทางสุขภาพอย่างมาก ซึ่งการศึกษาวิจัยดังกล่าว ถือเป็นการเตรียมพร้อมบุคลากรทางการแพทย์ในอนาคตซึ่งเป็นยุค precision medicine

ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายให้ความสนใจอย่างมากต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯ และนำไปสู่การสร้างความร่วมมือในแต่ละภาควิชา ซึ่งทำให้สามารถพัฒนางานวิจัยบนความหลากหลายของสาขาวิชาได้ต่อไปในอนาคต

ปัจจุบันสำนักงานของศูนย์โอมิกส์ฯ (ชั่วคราว) ตั้งอยู่ที่ ชั้น 6 อาคารบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างรอการปรับปรุงศูนย์โอมิกส์ฯ ณ ชั้น 9 อาคาร 50 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปี 2564)

ด้านความพร้อมของบุคลากร หรือการได้รับการสนับสนุนอื่น ทางศูนย์โอมิกส์ฯ มีคณาจารย์ และนักวิจัยในคณะแพทย์ศาสตร์  ซึ่งได้รับสนับสนุนจากคณะแพทย์ศาสตร์ รวมถึง นักวิจัยในโครงการ post-doc program ที่ได้รับสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในส่วนของทุนสนับสนุนที่ได้รับจากคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ ทุนสนับสนุนงานวิจัย  ทุนสนับสนุนการจัดซื้อครุภัณฑ์ (computational server and analytical software) ทุนสนับสนุนการฝึกอบรมของนักวิจัยทั้งในและนอกสถานที่ ทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร

Roadshow Omics_200326_0047
Roadshow Omics_200326_0008
Roadshow Omics_200326_0046