Pharmacy Division

Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital

  • Full Screen
  • Wide Screen
  • Narrow Screen
  • increase font size
  • Default font size
  • decrease font size

Rice – based oral rehydration therapy

E-mail Print PDF

สวัสดีค่ะ วันนี้ผู้เขียนมีได้นำเกร็ดความรู้เรื่อง Rice-based oral rehydration therapy (Rice-based ORT) มาฝากคุณผู้อ่าน คิดว่าหลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกับคำนี้ แต่ถ้าถามว่าเคยได้ยินคำโบราณที่ว่า “ไม่สบายจนต้องนอนหยอดน้ำข้าวต้ม” หลายคนคงร้องอ๋อกัน เพราะน้ำข้าวต้มที่ว่านี้ก็คือ Rice-based ORT ที่ใช้ชดเชยน้ำและเกลือแร่ในผู้ที่ท้องเสีย

 

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ Rice-based ORT เรามาดูกันว่าร่างกายเราดูดกลับน้ำและเกลือแร่ได้อย่างไร  ปกติร่างกายจะมีการดูดกลับน้ำที่บริเวณลำไส้ประมาณ 50-70% ของน้ำที่ถูกขับออกจากร่างกาย และที่เหลืออีกประมาณ 20% จะถูกดูดกลับที่ลำไส้ใหญ่ (1) กลไกการดูดกลับน้ำบริเวณลำไส้ ดังแสดงในรูปที่ 1 จะเห็นว่าลำไส้มีการดูดกลับน้ำแบบ passive transport คือการดูดกลับน้ำโดยอาศัย osmotic gradient ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ต้องใช้พลังงาน แต่ในภาวะที่เกิดอาการท้องเสียกระบวนการดังกล่าวจะถูกรบกวน ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดกลับน้ำได้ตามปกติ เกิดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ตามมา นอกจากนี้ลำไส้ยังมีกระบวนการดูดกลับน้ำโดยอาศัย Na+-glucose co transport  ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยพลังงาน และกระบวนการดังกล่าวจะไม่ถูกรบกวนเมื่อเกิดท้องเสีย ดังนั้น Na+- glucose co transport จึงเป็นเป้าหมายของการสารทดแทนน้ำและเกลือแร่ในผู้ที่ท้องเสีย ด้วยเกลือโซเดียมและกลูโคส (1, 2)

ในอดีตมีการใช้ Standard glucose-based ORT เป็นสารน้ำทดแทนในผู้ที่ท้องเสียตามสูตรมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่มี Osmolarity เท่ากับ 311 mOsm (Na+ = 90 mmole, glucose = 111 mmole) พบว่าไม่สามารถลดปริมาณอุจจาระและระยะเวลาที่เกิดท้องเสียได้ เนื่องจากสารน้ำทดแทนดังกล่าวมี Osmolarity สูงจึงมีผลดึงน้ำจากร่างกายเข้าสู่ทางเดินอาหาร ยิ่งกลับทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิด hypernatremia สูงขึ้น

 

รูปที่ 1 แสดงกระบวนการดูดกลับน้ำและเกลือแร่บริเวณลำไส้ (1)

 

ดังนั้นจึงได้มีการปรับลด Osmolarity ของ Standard glucose-based ORT เป็น Low osmolarity Glucose-based ORT ที่มี Osmolarity เท่ากับ 245 mOsm (Na+ = 75 mmole, glucose = 75 mmole) ซึ่งจากผลการศึกษาทางคลินิกพบว่า Low osmolarity Glucose-based ORT มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณอุจจาระและระยะเวลาที่เกิดท้องเสียได้ดีกว่า Standard glucose-based ORT ถึงแม้ว่า Low osmolarity Glucose-based ORT จะพบอุบัติการณ์การเกิด hyponatremia สูงขึ้นแต่ผู้ป่วยไม่ได้แสดงอาการดังกล่าว (asymptomatic hyponatremia) (3, 5, 6) จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการใช้สารน้ำทดแทนที่มี Osmolarity ต่ำ สามารถนำมาใช้แทน Standard glucose-based ORT ได้โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน ซึ่ง Rice-based ORTเป็นสารน้ำทดแทนอีกชนิดหนึ่งที่มี Osmolarity ต่ำ ประมาณ 280 mOsm (Na+ = 90 mmole) (3)

จาก Meta analysis 2 การศึกษา (7, 8) แสดงให้เห็นว่าการใช้ Rice-based ORT มีผลลดปริมาณอุจจาระในช่วง 24 ชั่วโมงแรกในผู้ที่ท้องเสียจากเชื้อ Cholera ได้มากกว่า Standard glucose-based ORT อย่างมีนัยสำคัญ และจากการทำ Meta analysis ของ Fontaine O และคณะ (8) พบว่าการใช้ Rice-based ORT ในผู้ที่ท้องเสียจากเชื้อ noncholera มีผลลดปริมาณอุจจาระได้ไม่แตกต่างจากการใช้ Standard glucose-based ORT ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่ได้กล่าวไว้ว่าการใช้ Rice-based ORT ในเด็กและผู้ใหญ่ที่ท้องเสียจากเชื้อ Cholera เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ Standard glucose-based ORT ส่วนการใช้ Rice-based ORT ในผู้ที่ท้องเสียจากเชื้อ noncholera ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าการใช้ Standard glucose-based ORT (9) นอกจากนี้จากการศึกษาของ Dutta D และคณะ (10) พบว่าการใช้ Rice-based ORT ในเด็กทารกมีผลลดปริมาณอุจจาระได้มากกว่าการใช้ Low osmolarity Glucose-based ORT Standard glucose-based ORT และ Standard glucose-based ORT ตามลำดับ ซึ่งการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Rice-based ORT และ Standard glucose-based ORT  และ Low osmolarity Glucose-based ORT ดังแสดงในรูปที่ 2 (11)

รูปที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบปริมาณอุจจาระและระยะเวลาที่เกิดท้องเสียจากเชื้อ Cholera ในเด็ก ระหว่าง Rice-based ORT และ Standard glucose-based ORT และ glucose-based ORT (11)

 

จากการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นข้อดีของ Rice-based ORT ในการลดปริมาณอุจจาระได้มากกว่าการใช้ Glucose-based ORT และ Rice-based ORT  ยังมีราคาถูกกว่า Glucose-based ORT เนื่องจากข้าวเป็นวัตถุดิบประจำครัวของคนไทยอยู่แล้ว อีกทั้ง Rice-based ORT สามารถลดอาการท้องเสียได้โดยไม่มีผลเพิ่ม Osmolarity ในลำไส้ เมื่อรับประทาน Rice-based ORT เข้าไปในร่างกายแล้วจะค่อยๆปลดปล่อย glucose ออกมาเพื่อใช้ co transport ในการดูดซึม Na+- glucose เข้าสู่ร่างกาย จึงช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ดังกลไกที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ Rice-based ORT ที่ไม่ถูกย่อยจะเข้าสู่ลำไส้ใหญ่และเปลี่ยนเป็น Shorty-chain fatty acid ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานให้แก่เซลล์ลำไส้ใหญ่ (colonocyte) ทำให้เกิดการดูดกลับน้ำและเกลือแร่(1, 4, 12) ดังนั้นการใช้ Rice-based ORT จึงทำให้เกิดการดูดกลับน้ำได้ทั้งที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จึงเป็นเหตุผลที่ Rice-based ORT สามารถใช้ได้ดีในผู้ที่ท้องเสียจากเชื้อ Cholera ที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในปริมาณมากและสามารถลดปริมาณอุจจาระได้มากกว่า glucose-based ORT

หลังจากได้ทราบประโยชน์ของ Rice-based ORT แล้วผู้อ่านคงอยากจะทราบการวิธีเตรียมกันแล้วใช่ไหมคะ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ Rice-based ORT มีข้าว 50-80 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (9) แต่เนื่องจากการเตรียมดังกล่าวหากนำมาใช้อาจจะไม่สะดวกในการชั่งตวงปริมาณตามที่กำหนด จึงขอแนะนำวิธีเตรียมที่ง่ายขึ้นโดยใช้ข้าวสาร ½-1 ถ้วยตวง ต้มในน้ำประมาณ 2 ถ้วยตวง และใส่เกลือลงไปประมาณ ½ ช้อนชา โดยต้มอย่างน้อย 10 นาที (13) เพียงแค่นี้ก็สามารถใช้อุปกรณ์ในครัวเตรียม Rice-based ORT ได้แล้ว เคล็ดลับสำคัญคือควรรับประทาน Rice-based ORT หลังจากที่ปรุงเสร็จใหม่เพื่อสุขอนามัยที่ดี

เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้แล้วผู้อ่านคงเห็นถึงภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่สามารถประยุกต์อาหารที่เรารับประทานกันทุกวัน มาใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียได้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำหลักการของ Rice-based ORT ไปกับผู้ที่ท้องเสีย นอกจากนี้ในฐานะบุคคลากรทางแพทย์สามารถนำเกร็ดความรู้เรื่อง Rice-based ORT ไปให้คำแนะนำแก่คนไข้ท้องเสียที่ร้านยาหรือในโรงพยาบาลได้ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอาจมีการปรับนโยบายด้านโภชนาการในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย โดยอาจพิจารณาให้ผู้ป่วยที่ท้องเสียได้รับประทาน Rice-based ORT ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเกิดประโยชน์จากการรักษาแล้ว ยังช่วยประหยัดงบประมาณของโรงพยาบาลได้ด้วย

สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เนื่องจาก “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”

 

เรียบเรียงโดย นศ.ภ.เทพยุดา  ธรรมแงะ

เอกสารอ้างอิง

1.       Sentongo TA. The use of oral rehydration solutions in children and adults. Curr Gastroenterol Rep. 2004 Aug;6(4):307-13.

2.       Fauci AS, Braunwald E, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Jameson JL, et al. Harrison’s principles of internal medicine. USA: The McGraw-Hill Companies; 2008.

3.       Rao MC. Oral rehydration therapy: new explanations for an old remedy. Annu Rev Physiol. 2004;66:385-417.

4.       Rabbani GH. The search for a better oral rehydration solution for cholera.Engl J Med. 2000 Feb 3;342(5):345-7.

5.       Alam NH, Majumder RN, Fuchs GJ. Efficacy and safety of oral rehydration solution with reduced osmolarity in adults with cholera: a randomised double-blind clinical trial. CHOICE study group. Lancet. 1999 Jul 24;354(9175):296-9.

6.       Dutta P, Mitra U, Manna B, Niyogi SK, Roy K, Mondal C, et al. Double blind, randomised controlled clinical trial of hypo-osmolar oral rehydration salt solution in dehydrating acute diarrhoea in severely malnourished (marasmic) children. Arch Dis Child. 2001 Mar;84(3):237-40.

7.       Gore SM, Fontaine O, Pierce NF. Impact of rice-based oral rehydration solution on stool output and duration of diarrhea: metaanalysis of 13 clinical trials. Br Med J 1992;304:287–91.

8.       Fontaine O, Gore SM, Pierce NF. Rice-based oral rehydration solution for treating diarrhea. Cochrane Database Syst Rev 2000;2:CD001264.

9.       World Health Organization. The treatment of diarrhea A manual for physicians and other senior health workers. Geneva: World Health Organization; 2005.

10.    Dutta D, Bhattacharya MK, Deb AK, Sarkar D, Chatterjee A, Biswas AB, et al. Evaluation of oral hypo-osmolar glucose-based and rice-based oral rehydration solutions in the treatment of cholera in children. Acta Paediatr. 2000 Jul;89(7):787-90.

11.    Guarino A, Albano F, Guandalini S; Working Group on Acute Gastroenteritis. Oral rehydration: toward a real solution. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2001 Oct;33 Suppl 2:S2-12.

12.    Topping DL, Clifton PM. Short-chain fatty acids and human colonic function: roles of resistant starch and nonstarch polysaccharides.Physiol Rev. 2001 Jul;81(3):1031-64.

Diarrhea, dehydration, oral rehydration, mother and child nutrition, water, sanitati [homepage on the Internet]. Hong Kong; date unknown [revised 2010 April 14; cited 2010 Dec 6]. Oral rehydration solution ORS made at home; [2 screens].  Available from: http://rehydrate.org/solutions/homemade.htm

 

Девочка "Скачать решебник по алгебре мордкович 7 класс" приходилась дочерью человеку, который стал "краткое содержание книг игра престолов" его злейшим врагом, продав его в рабство.

Не думаю, "скачать потап и настя не хватило воздуха" что ты сможешь убежать.

Я никогда "скачать игры для мобильный" не держу по два "скачать игру русские дальнобойщики скачать" самолета на одном "Я считаю до пяти. Для занятий с детьми от 3 до 4 лет." аэродроме.

И немного погодя вызов действительно "Английские упражнения в картинках. 1 год обучения" повторился.

Я многих отправил в этот Дом "игровой автомат леди шарм" и пришел сюда сам, как победитель, "Скачать читы для cs" а не как "Задания умного лисенка/Играем с буквами и словами" жертва.

В это время верх груды валунов взорвался.

Получены результаты лабораторных анализов.

Его мускулатура развита строго пропорционально.

Еще более загадочным "Лето Святого Мартина" казалось то, каким образом ему удавалось подбрасывать записки в "Лирика. Верлен Собрание стихов" одежду президента.

Она вздернула подбородок, явно считая, что ловко перехитрила противника, "Защита прав потребителей финансовых услуг" и, вдумавшись в сказанное ею, я был вынужден признать, что она и в "1С Предприятие Торговля и склад Секреты работы" самом деле ловко меня перехитрила.

Наконец Энн высвободилась из рук Джефа.

Ничуть не лучше дядя "Рассказы Белая гвардия Пьесы" Джаспера, и кузины Эвелины, и остальной вашей родни, твердо повторила Совесть.

You are here: