ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในประเทศออสเตรเลีย

ผม ผศ.ดร.นพ.ปิยพงษ์ คำริน อาจารย์ประจำ ภาควิชาสรีรวิทยา ได้รับทุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2558 เพื่อไปศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสารสนเทศทางการแพทย์ (Medical Informatics) ณ University of Melbourneประเทศ ออสเตรเลีย ตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นองค์ความรู้ด้านการใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องมือทางสถิติ, natural language processing, และ machine learning ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนนำมาประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการวินิจฉัยโรค และการวางแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผมได้เลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง The Use of Clinical Decision Support Systems for the Development of Medical Students’ Diagnostic Reasoning Skills ผู้เรียนได้ศึกษาวิจัยการพัฒนา machine learning model ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญสมองกลในการให้ข้อมูล และคำแนะนำจากข้อมูลผู้ป่วยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และผลทางห้องปฎิบัติการ เพื่อช่วยประกอบการวินิจฉัยโรคให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในรูปอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีเพิ่มมากขึ้น และปริมาณความซับซ้อนของข้อมูลนั้นมีมากเกินกว่าที่ศักยภาพของมนุษย์จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการประยุกต์ใช้ natural language processing, และ machine learning ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) เพื่อให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นแล้ว ด้วยองค์ความรู้ทางด้าน machine learning สามารถฝึกฝนเครื่องจักรจากประวัติการรักษา เพื่อใช้ในการพัฒนาต้นแบบองค์ความรู้ที่จำเพาะ ในการช่วยในการตัดสินใจทางการแพทย์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คัดกรองความเสี่ยงต่างๆ การวางแผนการรักษา รวมถึงงานบริหารเชิงระบบ เช่น การลงโค้ด ICD-10 และ ICD-9 อัตโนมัติ การประเมินค่าใช้จ่าย หรือ ความคุ้มทุนในการรักษา เป็นต้น

ซึ่งผลดังกล่าวล้วนเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานโดยตรง ในด้านการบริหารงาน และการจัดการทรัพยากรได้ดียิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยตรง ในด้านการรักษาที่แม่นยำ จำเพาะต่อผู้ป่วยรายบุคคลมากยิ่งขึ้น และต่อยอดไปถึงการศึกษาวิจัยทางคลินิก และการเรียนการสอน คลอบคลุมงานด้านmedical text mining and data preprocessing เป็นงานทางด้านการแยกแยะข้อมูลจากข้อความอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ เช่น discharge summary, radiological report, pathological report ให้เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ได้ clinical decision support using machine learning ใช้ข้อมูลด้านสุขภาพในการฝึกตัวต้นแบบ ให้วิเคราะห์องค์ความรู้ทางการแพทย์ เช่น แนวทางการวินิจฉัย แนวทางการรักษาในสถานการณ์ทางการแพทย์ต่างๆ intelligence data analytic คือการประยุกต์และต่อยอดตัวต้นแบบ ในการวิเคราห์สังเคราะห์ข้อมูลในระดับมหภาค (big data) เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับปฎิบัติการ (การวินิจฉัยโรคและการวางแผนการรักษา) จนถึง การวางแผนนโยบายระดับบริหาร (data driven policy) และนำไปประยุกต์ใช้ในการบริการทางกาแพทย์ เช่น ระบบ expert systems ที่ช่วยแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การลง ICD-10 อัตโนมัติ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเขียนจากเวชระเบียนผู้ป่วย,  การบันทึก ICD-9 อัตโนมัติ โดยการวิเคราะห์หัตถการจากรายงานการผ่าตัด, การวิเคราะห์ cost-effectiveness ของการรักษาในภาพใหญ่ เพื่อวางแผนนโยบายของโรงพยาบาลในการ บริหารจัดการให้ตรงกับความต้องการและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น