บริการรักษาพยาบาลที่ครบวงจรและต่อเนื่อง

การเข้าถึงบริการ

รับดูแลผู้บาดเจ็บที่นำส่งมาด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดเชียงใหม่ และผู้บาดเจ็บที่ได้รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในเครือข่ายทั้งทางบกและทางอากาศ เพื่อเข้ารับการรักษาการบาดเจ็บที่ซับซ้อน รุนแรง

การดูแลในระยะวิกฤต (Critical care)

โดยทีมสหสาขาที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

การดูแลในระยะกลาง หรือระยะฟื้นฟู (Intermediate care)

ด้วยความเข้าใจ ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วม มีโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพ และการสอนทักษะสำคัญด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บรุนแรง และมีความพิการหลงเหลือจากการบาดเจ็บ

จัดทำทะเบียนผู้บาดเจ็บ (Trauma Registration System)

เพื่อจัดทำสถิติ และใช้ประโยชน์ในการทบทวนและพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้บาดเจ็บ

เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุบัติภัยหมู่

โดยเริ่มมีการซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่ตั้งแต่ สิงหาคม พ.ศ. 2550 และซ้อมแผนสารเคมีตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ซึ่งต่อมาได้มีการจัดซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่และซ้อมแผนสารเคมีทุก 1 และ 2 ปีตามลำดับ อย่างต่อเนื่อง

ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการรักษาพยาบาล

รักษาพยาบาล โดยเป็นศูนย์ฝีกอบรมหลักสูตรของราช – วิทยาลัย ศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ Advanced Trauma Life Support (ATLS) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 และ Pre-hospital Trauma Life Support (PHTLS) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมทักษะที่สำคัญในการดูแลผู้บาดเจ็บ ได้แก่ Advanced Trauma Operative Approach (ATOA) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550, Advanced Surgical Skills for Exposure in Trauma (ASSET) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 และการใช้ Ultrasound ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560

จัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ทางการแพทย์

เพื่อสนับสนุนงานด้านบริการรักษาพยาบาล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีมาตรฐานสากล

การวิจัยและพัฒนา

โดยทีมสหสาขาได้พัฒนาแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้บาดเจ็บร่วมกัน