ภาระงานประจำ
1) งานเฝ้าระวังโรค
เฝ้าระวังโรคที่ต้องรายงานตามข้อกำหนดของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (แบบ รง. 506) โดย
1.1 คัดกรองผู้ป่วยโรคที่ต้องรายงานทางระบาดวิทยา(ตาม รง.506)จากห้องตรวจผู้ป่วยนอก (OPD case) ทั้งหมดทุกวัน
1.2 รับรายงานผู้ป่วยโรคที่ต้องรายงานทางระบาดวิทยา(ตาม รง.506) จากหอผู้ป่วยต่างๆ (IPD case)
1.3 ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยและหน่วยต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลหรือทำบันทึกรายงานสอบสวนโรค
1.4 รับรายงานโรคทางระบาดวิทยาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะแพทย์ ฯ (PCU)จากบุคลากรในPCU/ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ
1.5 ติดต่อประสานงานกับงานเวชระเบียนเพื่อสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วนสมบูรณ์
1.6 เก็บรวบรวมข้อมูลประจำเดือน/ ประจำไตรมาส/ ประจำปี
1.7 วิเคราะห์ข้อมูลดูแนวโน้มการเกิดโรคและการระบาดของโรค
1.8 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพื้นที่รับผิดชอบของคณะแพทย์ฯ เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค
1.9 จัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคระบาดร่วมกับศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ ฯ
1.10 ประสานและเชื่อมโยงกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เพื่อแจ้งและรับทราบสถานการณ์การเกิดโรคต่างๆ
2) สอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคระบาด โรคอุบัติใหม่- อุบัติซ้ำในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.1 เฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองจากผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่ รพ.มหาราชฯและPCU
2.2 จัดทำแนวทางปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค โดย
2.2.1 รับรายงานโรคทางระบาดวิทยาในPCUจากศูนย์สร้างเสริมฯเป็นประจำทุกเดือน
2.2.2 เมื่อเกิดการระบาดของโรค (Outbreak) ลงพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคร่วมกับทีมศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ / PCU เพื่อทำการสอบสวน หาแหล่งโรคและยืนยันการเกิดโรค
2.2.3 จัดทำมาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
2.3 ดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค
2.4 ติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
2.5 ช่วยเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นเพื่อใช้ในการยืนยันการวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้น
2.6 สรุปสถานการณ์การเกิดโรคและจัดทำรายงานเสนอผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) เป็นแหล่งข้อมูลและให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับโรคทางระบาดวิทยา
3.1 สอน/แนะนำ/ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดแก่ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล
3.2 สอน /ให้คำแนะนำบุคลากรในหอผู้ป่วย/ หน่วยตรวจต่างๆในการเฝ้าระวัง การรายงาน และการควบคุมโรค
3.3 จัดทำข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวเมื่อมีการระบาดของโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลอย่างต่อเนื่องโดยผ่านทางผู้รับผิดชอบโดยตรง
3.4 จัดทำสื่อการสอนต่างๆ โดย
– จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับโรคทางระบาดวิทยาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยและญาติ เมื่อเกิดการระบาดของโรค
– จัดทำบอร์ดให้ความรู้เรื่องโรคระบาดตามปัญหาและสถานการณ์ สำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อรณรงค์และป้องกันการเกิดโรค หรือการแพร่ระบาดของโรค
3.5 ให้ความรู้แก่บุคลากรในหอผู้ป่วย/หน่วยตรวจต่างๆ เกี่ยวกับโรคระบาดตามปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
3.6 สอนและให้คำปรึกษาในการพัฒนางานด้านระบาดวิทยาโดยจัดอบรมวิชาการด้านระบาดวิทยาให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามปัญหาและสถานการณ์
4) จัดทำฐานข้อมูลด้านระบาดวิทยา(Data management) เพื่อใช้ประเมินแนวโน้มการเกิดโรคระบาด และหาแนวทางป้องกันแก้ไข
4.1 จัดทำ / รวบรวมข้อมูลและสถิติของการเกิดโรคระบาดอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง
4.2 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อดูแนวโน้มการเกิดโรคและการระบาดของโรค
4.3 วางแผนดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคตามแนวโน้มที่เกิดขึ้น
4.4 พัฒนาแนวทางปฏิบัติ / มาตรฐานการป้องกันโรคระบาด
5) พัฒนาและปรับปรุงงานด้านระบาดวิทยา
5.1 พัฒนาระบบ/ขั้นตอนการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก
5.2 พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่และจัดทำโปรแกรมการจัดเก็บ/เรียกใช้ข้อมูลด้านระบาดวิทยาของโรงพยาบาลมหาราชฯ (เพื่อใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลระดับจังหวัดและระดับประเทศ)
5.3 พัฒนาศักยภาพของทีมระบาดวิทยาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
5.4 พัฒนาความรู้/มาตรการด้านระบาดวิทยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
5.5 ศึกษาวิจัยงานด้านระบาดวิทยาตามปัญหาและสถานการณ์
6) ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
6.1 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกคณะฯ
6.1.1 ภายในคณะฯ ได้แก่
– หอผู้ป่วยต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประสานการเฝ้าระวังโรค
– ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ ในการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค การจัดทำแนวทาง/มาตรการการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค
– งานเวชระเบียนฯ ในการค้นหาข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมให้ข้อมูลถูกต้อง ครอบคลุมและสมบูรณ์
– PCU เพื่อแจ้ง/รายงานสถานการณ์โรคและการปฏิบัติเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
– หน่วยสารสนเทศ ประสานงานช่วยเหลือเกี่ยวกับการพัฒนาการดำเนินการจัดการข้อมูลต่างๆ
6.1.2 ภายนอกคณะ ได้แก่
– ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เชียงใหม่ในการส่งสิ่งส่งตรวจที่จำเป็นเพื่อใช้ในการยืนยันการวินิจฉัยโรค
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทราบสถานการณ์ /ติดตามและสอบสวนโรคระบาดในชุมชน/การขอสำรองอุปกรณ์ที่ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจต่างๆ มาใช้ เช่น tube lab ต่างๆ
– สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคฯ เพื่อขอทราบข้อมูล/สถานการณ์ ตลอดจนแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่เกิดขึ้น
7) งานบริหารธุรการ
7.1 จัดทำ / จัดหาเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้ เพื่อการป้องกันและควบคุมการเกิด โรคระบาด
7.2 บริหารจัดการเรื่องจัดเบิกอุปกรณ์ วัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในหน่วยงาน
7.3 บริหารจัดการระบบเอกสาร หนังสือเข้า-ออกในหน่วยงาน