การจัดการอาการปวดในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

ถอดบทเรียน

1. อาการปวดในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พบได้ทั้งอาการปวดแบบ acute pain chronic pain และ neuropathic
pain ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะเวลาในการดำเนินของโรค

2. บุคลากรทางการพยาบาลควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมไป
ถึงการให้ความรู้เรื่องอาการปวด การประเมินอาการปวด และการจัดการกับอาการปวด อย่างถูกต้อง
กับผู้ป่วย และญาติ

3. หากผู้ป่วยได้รับยาบรรเทาอาการปวดแล้ว แต่อาการปวดไม่ลดลง ควรพิจารณาหาสาเหตุอาการปวดที่
เกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดและขนาดของยาให้เหมาะสม อาจต้อง ปรึกษา pain clinic

4. การบรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยา เช่น การจัดท่า การคลายผ้าพันแผล การฟังเพลง การดูโทรทัศน์
การประคบเย็น การ splint การคุยโทรศัพท์ การสัมผัส การฝึกผ่อนคลาย การทำสมาธิ การฝึกจินตภาพ
(imagine)สำหรับผู้ป่วยเด็กจะให้เล่นของเล่น การเล่านิทาน การอ่านหนังสือ การวาดรูป ระบายสี
ดูวีดีทัศน์ ให้ผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด โอบกอด การพูดคุยหยอกล้อ การให้กำลังใจ เป็นต้น ซึ่งการ
บรรเทาอาการปวดแต่ละอย่างต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมักจะใช้ร่วมกับการ
ให้ยาบรรเทาอาการปวด ทำให้ยืดเวลาในการให้ยาครั้งต่อไป

5. จัดให้มีการทบทวนความรู้และเน้นย้ำเรื่องการประเมินอาการปวด การจัดการกับอาการปวด กับ
บุคลากร

6. ผู้ป่วยเด็กสามารถประเมินอาการปวดโดยการ เครื่องมือประเมิน คือ NIPS, CHEOPS และ numeric
scale ขึ้นอยู่กับอาการและการรับรู้อาการปวดของตนเอง โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง
มาประกอบการพิจารณาด้วย

7. จัดให้มีการทบทวนความรู้เรื่องยาบรรเทาอาการปวด อาการข้างเคียง รวมไปถึง half-life ของยาแต่
ละชนิด

8. การประเมินอาการปวดควรตรวจสอบเรื่องความมั่งคงและความเหมาะสมของ splint หรือน้ำหนัก
ของการดึง traction ด้วย

9. ผู้ป่วย neuro และผู้ป่วยที่พูดไม่ได้ ใช้เครื่องมือประเมินอาการปวด คือ adult non verbal pain scale

10. สาเหตุของอาการปวดอาจเกิดจากกิจกรรมการพยาบาลหรือกิจกรรมการรักษาจึงควรได้มีการจัด
การอาการปวดด้วย

11. ในผู้ป่วย neuro ควรงดให้ MO

12. ควรพิจารณาให้ยาบรรเทาอาการปวดตามความรุนแรงของอาการปวดอย่างเหมาะสม

13. การแก้พิษของ MO ทำโดยการงดให้ MO ให้ O2 ติดตาม sedation score และการหายใจ ส่วนมาก
จะไม่ให้ narlozon เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากขึ้น

14. การจัดการอาการปวดในเด็กจะเน้นเรื่องการเล่น การเบี่ยงเบนความสนใจต่างๆ ขึ้นอยู่กับวัยและ
ความรุนแรงของอาการปวด

15. การจัดการอาการปวดในผู้ป่วยอัมพาต จะเน้นย้ำเรื่อง mental support การให้ญาติมีส่วนร่วมในการ
ดูแล การเบี่ยงเบนความสนใจ การจัดท่า การสัมผัสด้วยความนุ่มนวล และการดูแลความสุขสบาย
ทั่วไป แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการประคบร้อน – เย็น

16. การให้ยาบรรเทาอาการปวด ควรให้ยาที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร สลับเวลากับยาที่ระคายเคือง
กระเพาะอาหาร

17. การจัดการอาการปวดในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้ opioid ต้องประเมิน sedation score ร่วมกับการประเมิน
การหายใจ ระมัดระวังการให้ยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต

18. ผู้ป่วยมะเร็งการให้ยาบรรเทาอาการปวดร่วมกับการจินตภาพ (imagine) สามารถลดอาการปวดลงได้

19. การจัดการอาการปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดที่ดีที่สุดคือการที่ผู้ป่วยไม่ปวด หากประเมินแล้วผู้ป่วย
ปวดระดับ 3 (numeric scale) ควรให้ยาบรรเทาอาการปวด

20. การประคบเย็นในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ดี

คุณกิจ (Knowledge Practitioner)

1. คุณศุภลักษณ์ กาศเกษม        2. คุณกรกมล ทะนำปี
3. คุณลัญชนา จำปาทอง           4. คุณลลิตา สีรักสา
5. คุณนงพงา อัมพาผล              6. คุณพรพณา ยาสมุทร์
7. คุณกมล สันกลกิจ                  8. คุณเพ็ญจิรา เทพอำพันธุ์

คุณอำนวย (Knowledge Facilitator)

1คุณพายุรี                 ชมภูแก้ว
2. คุณอารยา                สุขประเสริฐ

คุณลิขิต (Note Taker)

 คุณสายฝน            สงฆ์อุทก

ผู้ฟัง (Learner)

วันที่ 24 มีนาคม 2554 เวลา 13.00-15.30 น. ณ ห้องวิจัย ภาควิชาออร์โธปิดิกส์