รูปแบบการทำงานและคุณภาพของไมโครโฟน

ไมโครโฟนเสียงไม่ดัง ?!

การที่ไมโครโฟนเสียงไม่ดังเท่าที่ควรนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ตำแหน่งการวางของไมโครโฟนไปจนถึงการตั้งค่าบนอุปกรณ์สื่อสาร โดยในบทความนี้จะมาทำความเข้าใจเรื่องรูปแบบการทำงานของไมโครโฟนเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพการทำงานไมโครโฟนได้คร่าวๆ ก่อนจะไปถึงการปรับตั้งค่าเบื้องต้นบนอุปกรณ์และโปรแกรมสื่อสารที่ใช้ในการทำงาน


ทำไมต้องรู้จักรูปแบบการทำงานของไมโครโฟน?

รูปแบบการทำงานของไมโครโฟนนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักมองข้ามไป ทำให้เกิดหลายกรณีที่ผู้ใช้ดูรีวิวไมโครโฟนหรือซื้อไมโครโฟนราคาแพง แล้วพบว่าคุณภาพเสียงไม่เป็นไปอย่างที่ได้ยินในรีวิว ในเบื้องต้นนั้น มีความเป็นไปได้ว่าผู้ใช้งานวางไมโครโฟนในตำแหน่งที่ผิด พูดเสียงดังเท่าไหร่ เสียงที่ออกมาเบา เพราะฉะนั้นจึงต้องนำเสนอรูปแบบการทำงานของไมโครโฟนให้ผู้ใช้ได้เข้าใจก่อนเพื่อให้เห็นภาพว่าไมโครโฟนแต่ละแบบนั้นรับเสียงจากทิศทางใด


รูปแบบการทำงานของไมโครโฟน

ไมโครโฟนแต่ละรุ่นนั้นมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน การรู้จักรูปแบบการทำงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆในการเลือกซื้อเพราะผู้ใช้งานสามารถรู้ว่าไมโครโฟนตัวนั้นสามารถรับเสียงจากทิศทางไหนได้ชัดเจนที่สุด โดยในบทความนี้ได้ยกมา 7 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบการทำงานของไมโครโฟนจะแทนด้วยภาพตัวอย่างดังภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจการทำงานแบบง่ายๆ

แบบแรกที่นำเสนอไปคือ Omnidirectional เป็นการรับเสียงได้รอบทิศทางตัวไมค์โครโฟนแบบ 360 องศา เหมือนลูกบอล ซึ่งหมายความว่าเสียงใดๆที่เกิดรอบๆตัวไมโครโฟน เสียงนั้นจะเข้าไมโครโฟนทั้งหมด

แบบที่สองคือแบบ Cardioid (คาร์ดิออยด์) เป็นการรับเสียงบริเวณด้านหน้าของไมโครโฟนเพียงด้านเดียวเกือบ 180 องศา หมายความว่า ถ้าผู้ใช้พูดด้านหน้าไมโครโฟน เสียงจะออกชัดเจนกว่าพูดด้านหลังไมค์โครโฟน ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องตรวจสอบจุดรับเสียงของไมโครโฟนให้ดี ซึ่งอาจจะอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของไมโครโฟนก็ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วเสียงอาจจะออกมาไม่ชัดเจนเพราะไมโครโฟนรับเสียงจากด้านหลังน้อย ทำให้เสียงเบากว่าที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้ การทำงานแบบ Cardioid ยังแบ่งได้อีก 3 แบบ ได้แก่ Subcardioid, Supercardioid, Hypercardioid ที่เน้นสำหรับเสียงจากด้านหน้าของไมโครโฟนเหมือนกัน แต่สามารถรับรายละเอียดจากด้านหลังได้มากขึ้นตามภาพตัวอย่างข้างต้น ไมโครโฟนที่ทำงานรูปแบบนี้มักจะถูกใช้ในการถ่ายทำเป็นส่วนใหญ่ เหมาะกับการถ่ายทำที่ต้องการรับเสียงผู้พูดตรงหน้าเป็นหลัก และผู้พูดกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบเป็นรอง

แบบที่สามคือแบบ Bi-directional เป็นการรับเสียบจากด้านหน้าและหลังไมโครโฟนแต่รับเสียงจากด้านข้างได้ไม่ละเอียดเท่า พื้นที่รับเสียงจะเป็นเสมือนลูกบอลสองลูกสัมผัสกัน โดยจุดสัมผัสเป็นตัวไมโครโฟนนั่นเอง ไมโครโฟนที่ทำงานรูปแบบนี้มักจะถูกใช้ในการสัมภาษณ์ที่คนสองคนนั่งข้างๆหรือตรงข้ามกัน

แบบที่สี่คือแบบ Lobar เป็นการรับเสียงที่เน้นด้านหน้าของไมโครโฟนแต่มุมรับเสียงจะแคบกว่า Cardioid และเปิดรับเสียงด้านข้างและด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเก็บรายละเอียดที่อยู่โดยรอบในมุมแคบเท่านั้น เหมาะกับการถ่ายทำที่เน้นเสียงผู้พูดตรงหน้ากล้อง

ทั้งหมดนี้เป็นการนำเสนอให้รู้จักรูปแบบการทำงานเบื้องต้นของไมโครโฟน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจและสามารถนำไปจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสมได้

แหล่งที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/wiki/Microphone


เกิดเสียงรบกวนขณะใช้งาน

Noise หรือเสียงรบกวนเป็นหนึ่งในสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นขณะใช้งานไมโครโฟน เสียงรบกวนที่ได้ยินนั้นมักจะเป็นเสียงสิ่งแวดล้อมรอบๆ เช่น ลม เสียงสัมผัสปาก เสียงซ่า เสียงจี่ เป็นต้น โดยเสียงรบกวนเหล่านี้จะได้ยินต่อเมื่อไมโครโฟนที่กำลังใช้งานนั้นรับเสียง Signal หรือเสียงพูด เสียงสัญญาณต่างๆที่ผู้ใช้งานต้องการได้ยินน้อยหรือเบาเกินไป

clipboard_e8c4bdb9e8daf8c81cb963f4185979f69.png

Noise Floor คือระดับความดังที่เสียงรบกวนเกิดขึ้น
หากเสียงพูดหรือ Received Signal (ดังภาพ)มีความดังใกล้เคียงกับ Noise Floor จะส่งผลให้เสียงพูดนั้นมีเสียงรบกวนติดมาด้วย
SNR (dB) คือค่าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณต่อเสียงรบกวน
ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งทำให้เสียงพูดหรือ Received Signal ชัดเจน สามารถทำให้สูงได้โดยการพูดหรือส่งสัญญาณเสียงที่ดังและชัดเจน

ผู้ใช้หลายท่านมักจะแก้ปัญหาโดยการเร่งเสียงหรือปรับเพิ่ม Gain ขณะทำการตัดต่อ แต่วิธีดังกล่าวนอกจากจะเพิ่มเสียงของผู้พูดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มเสียงรบกวนให้ดังขึ้นไปด้วย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ ผู้ใช้งานต้องเพิ่มระดับเสียงหรือพูดให้ดังฟังชัด วิธีนี้ทำให้ไมโครโฟนรับสัญาณเสียงในช่วง dB ที่สูงมากพอที่จะรับช่วงสัญญาณเสียงที่พ้นจาก Noise floor ทำให้เสียงที่ได้นั้นเป็นเสียงพูดที่ชัดเจนจนกลบเสียงรบกวนได้แต่ไม่ทั้งหมด

ในปัจจุบันนี้ อุปกรณ์หลายชนิดสามารถเปิดระบบตัดเสียงรบกวนได้ ทั้งบน Hardware และ Software ซึ่งช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้พอสมควร ถ้าหากผู้ใช้ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาอุปกรณ์เสริมได้ เช่น Pop Filter, Interface หรือ Sound Card เป็นต้น

ภาพที่มา Signal-to-Noise Ratio (SNR) and Wireless Signal Strength – Cisco Meraki


MTEC