นอนหลับอย่างไร ให้ปลอดภัยช่วงวิกฤตหมอกควัน

นอนหลับอย่างไร ให้ปลอดภัยช่วงวิกฤตหมอกควัน


หมอกควันมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจและอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ทุกคนมีโอกาสสัมผัสหมอกควันตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนนี้ ต่างกันตรงที่ว่ากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่เรานอน อากาศจะเย็นลง หมอกควันจะลอยต่ำและมีโอกาสที่จะเข้ามาในบ้านในห้องนอนได้ง่าย ช่วงเวลากลางวันหากอากาศร้อนหมอกควันจะลอยขึ้น จึงมีโอกาสที่หมอกควันจะเข้ามาในห้องนอนได้ง่ายในกลางคืน
☀️ ในช่วงกลางวัน
ก่อนออกจากบ้านไปทำงาน เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท
เมื่อกลับมาตอนเย็นปิดบ้าน ปิดหน้าต่างแล้วเริ่มเปิดเครื่องฟอกใหม่
– เก็บสิ่งของเครื่องใช้ภายในห้องที่ไม่จำเป็น ไม่ให้รก เนื่องจากฝุ่นละอองมักอยู่ตามซอกมุม เมื่อลมพัดฝุ่นอาจจะฟุ้ง
– เช็ดทำความสะอาดห้องด้วยผ้าชุบน้ำหมัดหมาดๆ
– ก่อนการเปิดพัดลมภายในห้อง
🌒ในช่วงกลางคืน ควรปิดบ้าน ปิดหน้าต่าง ปิดประตูห้อง แล้วเปิดเครื่องฟอกอากาศ เปิดแอร์เบาๆ หากไม่เปิดแอร์เลยแล้วปิดบ้านปิดหน้าต่างหมด ความชื้นจากเหงื่อจะทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกอึดอัด การเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียส จะช่วยจัดการกับความชื้นของเหงื่อในอากาศ ขณะเดียวกันเครื่องฟอกอากาศก็จะกำจัดฝุ่นควัน PM 2.5 ภายในห้องไปด้วย จะทำให้เราหลับสบายเพราะอากาศภายในห้องถ่ายเทดี ในช่วงเช้าก่อนออกจากบ้านไปทำงานจึงค่อยเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท และเมื่อกลับมาตอนเย็นจึงปิดบ้านปิดหน้าต่างแล้วก็เริ่มเปิดเครื่องฟอกกันใหม่
🪟ส่วนบ้านไหนที่ไม่มีแอร์ก็ใช้วิธีปิดประตูหน้าต่าง เปิดพัดลมเบาๆ ร่วมกับเครื่องฟอกอากาศ สิ่งสำคัญคือไม่ควรมีข้าวของเครื่องใช้ภายในห้องมากๆ เนื่องจากฝุ่นละอองมักอยู่ตามซอกมุม เมื่อพัดลมเป่า ฝุ่นอาจจะฟุ้ง ดังนั้นควรเก็บข้าวของเครื่องใช้ภายในห้องไม่ให้รก และเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆก่อนการเปิดพัดลมภายในห้อง
🙏🏻ข้อมูลโดย รศ.นพ.ธีรกร ธีรกิตติกุล หัวหน้าหน่วยระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้
.
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
❤️ ด้วยความห่วงใย จาก