ยกทรงจันทร์ทิมา

ชื่อ นวัตกรรม ยกทรงจันทร์ทิมา

ชื่อผู้ประดิษฐ์ นางจันทร์ทิมา

สถานที่ทำงาน  หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2

งานการพยาบาล งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์
ปีที่เริ่มใช้ 2548

หลักการและเหตุผล
หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ 1 ของจำนวนผู้ป่วยที่รับไว้ดูแลรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัด Modified Radical Mastectomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเต้านมข้างที่เป็นมะเร็งออกทั้งหมด เต้านมเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้หญิง เนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะที่มีการเจริญเติบโตไปตามพัฒนาการของร่างกายอย่างเห็นได้ชัด เป็นสิ่งมีค่าและความภาคภูมิใจของผู้หญิงทุกคน ดังนั้นการสูญเสียเต้านมจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของความเป็นหญิงทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกสูญเสียภาพลักษณ์ของตนเอง ความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลในเรื่องของการสวมเสื้อผ้า มีความรู้สึกไม่สบายใจและไม่มั่นใจต่อรูปร่างของตัวเองที่ปรากฏ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกขาดคุณค่าและความภาคภูมิใจในตัวเอง ถ้าผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือและมีการส่งเสริมภาพลักษณ์ของตน จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีคุณค่า จากการสอบถามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมออกไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการคำแนะนำและการช่วยเหลือที่จะทำให้ตนเองดูดีขึ้นในการแต่งตัว เพราะทำให้เกิดความมั่นใจ และความภูมิใจในตนเองมากขึ้น ความเครียดและความวิตกกังวลต่างๆย่อมลดน้อยลงไป ดังนั้น การแนะนำให้ผู้ป่วยได้ใช้ ยกทรงจันทร์ทิมา ซึ่งเป็นยกทรงที่มีอุปกรณ์เสริมเต้านม ทำให้ผู้ได้รับการสวมใส่แล้วมีรูปทรงของทรวงอกเท่ากันทั้ง 2 ข้าง เมื่อสวมเสื้อตัวนอกแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมจะมีทรวงอกเหมือนหญิงปกติทั่วไป เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ เกิดความพึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง ก่อให้เกิดความมั่นใจและปราศจากความวิตกกังวลในการติดต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ค่าใช้จ่าย
50 บาท ต่อชุด