ศูนย์ประสานงานและส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย ( Referral Center ) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโรงพยาบาล ในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจรักษา หรือฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมถึง ให้บริการ Active Refer ในการจัดรถพยาบาล พร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วยระหว่างการส่งต่อ ไปยังโรงพยาบาลปลายทางอย่างปลอดภัย

Refer In

ประสานส่งต่อผู้ป่วยรักษาต่อ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่

  1. โทรติดต่อประสานงานที่  เบอร์  053-938-799  ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. ศูนย์ ฯ จะให้เบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อแพทย์เฉพาะทาง
  3. แพทย์เฉพาะทางของ ร.พ.มหาราช ฯ เป็นผู้พิจารณาตอบรับหรือไม่
  4. กรณีรับผู้ป่วยได้  โรงพยาบาลปลายทางต้องโทรแจ้งศูนย์ ฯ อีกครั้ง เพื่อยืนยันและนัดหมายเวลา
  5. ศูนย์ ฯ จะทำการแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการรับผู้ป่วย
  6. เมื่อรถพยาบาลออกเดินทางแล้ว ให้แจ้ง Check Point ผ่านทางวิทยุทุกครั้ง
  7. นำส่งผู้ป่วยที่ จุดคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระบารมี

ข้อมูลประสานงานที่จำเป็น

  • ชื่อสกุล อายุ เพศ สิทธิการรักษา
  • อาการสำคัญ ประวัติการเจ็บป่วย
  • การวินิจฉัยโรค และปัญหาที่คงค้าง
  • หัตถการที่ได้รับ และสัญญาณชีพล่าสุด

Refer Out

ประสานส่งต่อผู้ป่วยกลับไป ร.พ.ตามสิทธิ์การรักษา

  1. หอผู้ป่วยติดต่อประสานงาน  โทร  38799
  2. หอผู้ป่วยส่ง Discharge Summary ทาง Fax ไปยังโรงพยาบาลปลายทาง
    • วันเวลาราชการ ส่ง Fax ได้ที่ศูนย์ประสานสิทธิ์บัตรทอง
    • นอกเวลาราชการ ส่ง Fax ได้ที่ศูนย์ประสานงานส่งต่อ
  3. ศูนย์ Referral Center ประสานงานกับโรงพยาบาลปลายทาง
    • กรณี โรงพยาบาลปลายทางรับเคสได้ สามารถส่งตัวผู้ป่วยได้ 3 วิธี
      • Active Refer ในเวลาราชการ (รายละเอียดในข้อ 4)
      • รอรถโรงพยาบาลปลายทางมารับ
      • ผู้ป่วยเดินทางไปเอง
    • กรณี โรงพยาบาลปลายทาง ไม่สามารถรับเคสได้
      • รอเตียง โรงพยาบาลปลายทางจะติดต่อกลับมา เมื่อมีเตียงรับผู้ป่วยได้
      • พิจารณาประสานงานโรงพยาบาลอื่น ๆ
  4. บริการ Active Refer เป็นการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ในวันเวลาราชการ (ระยะทางไม่เกิน 200 กม.) โดยใช้รถโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พร้อมอุปกรณ์สำหรับดูแผู้ป่วยระหว่างการเดินทาง มีเจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วย ดังนี้
    • แพทย์เจ้าของไข้ (เฉพาะกรณีผู้ป่วยวิกฤต สัญญาณชีพไม่คงที่)
    • พยาบาล หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินฯ 1 ท่าน
    • พยาบาล จากหอผู้ป่วย 1 ท่าน
  5. หลังจาก Refer Out ศูนย์ ฯ จะบันทึกและติดตามข้อมูลผู้ป่วยทุกราย เป็นเวลา 2 สัปดาห์